การนั่งกรรมฐาน จากความทรงจำและประสบการณ์
- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published on Thursday, 13 August 2015 16:51
- Written by Super User
- Hits: 6704
การนั่งกรรมฐาน
จากความทรงจำและประสบการณ์
คัดจากหนังสือเรื่อง ของดีที่คนมองข้าม รวบรวมโดยพระปัญญาวรคุณ
การนั่งวิปัสสนากรรมฐานนี้หลวงพ่อสมเด็จฯ ท่านเคยเทศน์ไว้ตอนหนึ่งว่า การนั่งนี้เว้นแต่จะนั่งแบบไหน วิปัสสนอน (วิ-ปัด-สะ-นอน ; ผู้พิมพ์) วิปัสสนึก (วิ-ปัด-สะ-นึก; ผู้พิมพ์) หรือวิปัสนา แต่จะให้ถึงโลกุตระธรรมนั้น ท่านกล่าวว่าจะต้องปรับจิตให้ว่าง ปราศจากอุปาทาน เข้าสู่จุดละ คือไม่ยึดตน ยึดสุข ยุดทุกข์ เมื่อละทิ้งตนได้ ตนก็จะรู้จักตัวเองว่าคืออะไร มาจากไหน ?
เมื่อเราละได้แล้ว เราจะไม่ตกอยู่ในความเหลิง เมื่อไม่หลงย่อมส่งผลไม่โกรธ ไม่แค้น ไม่โลภ และเราจะค้นพบต่อไปอีกว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นของไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลงสลายไปตามกาลเวลา "คืออนิจจาตาปัจจัยไม่คงทนอยู่ได้ตามสภาพเดิม" ซึ่งตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่กล่าวว่า สสารในโลกนี้ย่อมเปลี่ยนแปลง เคลื่อนที่ไปเสมอ เมื่อถึงเวลานั้นจงคิดเข้าไปอีกว่า
เรายังจะยึดอะไรได้อีกเล่า
เราเกิดมาเพื่ออะไร
เพื่อความสุขส่วนตัวหรือ
หากแม้ท่านเห็นแก่ตัว มัวเมาอยู่ก็คงบอกว่าใช่เพราะคิดว่ามีตัวตนเป็นนิจจัง ด้วยโมหะคติครอบงำ ยึดว่าทุกสิ่งเที่ยง เป็นตัวเรา ของเรา แต่ความจริงนั้น คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมของตนเอง กรรมในที่นี้หมายถึงการกระทำ ซึ่งมีทั้งดีและชั่ว คนโง่เขลาก็ชอบทำชั่ว เพราะไม่เห็นผลชั่วในทันทีทันใด แต่ท่านจะต้องพบแน่ไม่ช้าก็เร็ว ตามหลักกฎแห่งกรรม ซึ่งคนส่วนมากในยุคนี้มักจะต้องพบในชาตินี้ มีบางคนกรรมชั่วจะวิบากเมื่อเสวยบุญ หมดแล้ว ในบั้นปลายของชีวิต คือเมื่อก่อนตาย ตลอดจนไปรับโทษทัณฑ์ในโลกวิญญาณ
ส่วนคนฉลาดชอบทำแต่ความดี เพราะเชื่อในผลของกรรมดี ที่จะตอบสนองให้มีความสุขกาย สุขใจ แต่เมื่อประสบผลกรรมเก่าที่ชั่วส่งผลมา จะยอมก้มหน้ารับโทษด้วยความไม่ขุ่นมัว เพราะเขาถือว่าทุกข์โทษที่เกิดขึ้น เป็นเพราะอดีตชาติเคยสร้างไว้ ถ้าคนเราคิดได้อย่างนี้สังคมโลกจะสดใสน่าอยู่ขึ้นอีกมาก
พึงนึกเสมอว่า ความตายกำลังใกล้เข้ามาหาเราทุกวินาที ซึ่งตรงกับหลักความจริงของพระพุทธศาสนาที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
๑.ทุกคนย่อมไม่สามารถหลีกหนีความตายไปได้
๒.ความตายนั้นนับวันก็ใกล้เข้ามาหาเราทุกนาที
๓.ความตายถึงตัวเราวันไหน เราย่อมไม่รู้
วัตถุใดๆ ก็ตามเมื่อเริ่มเกิดขึ้นก็เริ่มย่างเข้าสู่จุดสลาย ฉะนั้นเกิดมาชาติหนึ่งแล้วควรมุ่งสร้างแต่ความดี เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลังปฏิบัติ เจริญรอยตาม ซึ่งจะเป็นกุศลค้ำจุนตนเองให้พบแต่ความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า แต่ถ้าท่านยึด โลกียะสมบัติ ท่านก็จะได้เพียงแต่ชาตินี้เท่านั้น แต่เมื่อท่านตาย ทรัพย์สมบัติศฤงคาร ที่ท่านเฝ้าสะสมไว้ ก็เอาไปไม่ได้ แม้แต่ชิ้นเดียว ท่านจะเลือกโลกียสมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติก็แล้วแต่ท่าน แต่ใคร่ขอให้พิจารณาด้วยความไม่ประมาท
ประโยชน์เมื่อท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน เมื่อรู้ตน ปัญญาย่อมเกิด ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิต
คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ กล่าวคือเมื่อเราบำเพ็ญจิตจนสงบนิ่งแล้วระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายทิพย์เข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆจะลดน้อยลง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการปฏิบัติจิตและเดินจงกรม การนั่งวิปัสสนากรรมฐานที่สำคัญก็คือ ผู้ที่จะปฏิบัติต้องนอนให้เพียงพอ ไม่ควรอิ่ม หรือหิวเกินไป อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ห่มผ้าให้เรียบร้อย ทำจิตให้ปลอดโปร่ง บูชาพระรัตนตรัยด้วยธูป ๓ ดอก ตามบทสวดมนต์ที่ผ่านมาข้างต้น และประสาทต่างๆจะลดน้อยลง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการปฏิบัติจิต และเดินจงกรม
การนั่งวิปัสนากรรมฐานที่สำคัญก็คือ ผู้ที่จะปฏิบัติต้องนอนให้เพียงพอ ไม่ควรอิ่ม หรือหิวเกินไป อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ห่มผ้าให้เรียบร้อย ทำจิตให้ปลอดโปร่ง บูชาพระรัตนตรัยด้วยธูป ๓ ดอก ตามบทสวดมนต์ที่ผ่านมาข้างต้น หลังจากสวดมนต์เสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มหัดนั่งทำสมาธิ ผู้ที่ฝึกใหม่ซึ่งมีจิตวอกแวก ใจฟุ้งซ่าน ควรจะหันหน้าเข้าหาหิ้งพระเพื่อเพ่งองค์สมมติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นจุดยึดเพื่อรวมสมาธิ สูดลมหายใจเข้า และระบายลมหายใจออกให้หนักและลึกก่อน โดยกำหนดจิต "พุทธ" และ "โธ" ตามจังหวะลมหายใจเข้าและออก ผู้ทำครั้งแรกอาจจะขัดๆอยู่บ้าง ก็ขอให้พยายามทำต่อไป จะพบกับความสำเร็จเอง
รูปที่๑
ในท่านั่งเพ่งพระพุทธรูป หายใจเข้า พุทธ หายใจออก โธ เราเพ่งจนรู้สึกปวดนัยน์ตา ก็ให้หลับตา ขณะนั้นจะรู้สึกว่าเห็นพระพุทธรูปองค์นั้นลอยมาอยู่ข้างหน้าของเรา ลอยไปซ้าย ขวา เข้าใกล้หรือห่างออกไป เราพยายามใช้สมาธิจิตดึงภาพนั้นให้อยู่นิ่ง ณ ระหว่างหัวต่อของคิ้ว บังคับให้รูปนิ่งและพยายามปรับภาพให้ชัดขึ้น โดยพยายามนึกถึงภาพพระพุทธรูปนั้น เมื่อนิ่งแล้วให้พยุงภาพนั้นไว้ จนกว่าภาพนั้นจะสลายไป ก็ตั้งต้นลืมตาเพ่งพระพุทธรูปอีกครั้ง สลับกันอย่างนี้จนกว่าเราจะฝึกไปได้ระยะหนึ่ง รู้ว่าเข้านั่งสมาธิแล้วไม่ต้องพึ่งพระพุทธรูป แต่สามารถเห็นพระพุทธรูปได้
รูปที่ ๒
เมื่อฝึกจาก ภาพที่ ๑ แล้ว ก็เริ่มฝึกตามภาพที่ ๒ ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า ปิดหนังตาลงมาแล้วหายใจ พุท เข้า โธ ออก เริ่มจะเห็นพระพุทธรูปที่เรา เคยฝึกมา แต่พอเรานั่งฝึกสมาธิจนนิ่งแล้ว ทั้งภาพพระพุทธรูปและคำว่า พุทโธ จะหายไป เมื่อถึงขั้นนี้แล้วเราไม่จำเป็นต้องยึดภาพและเสียงอีก ปล่อยให้หายใจไปตามความนิ่ง ขณะนั้นจะรู้สึกครึ่งหลับ ครึ่งตื่น แต่มีสติควบคุมตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ภาพนั้นจะสลายไป ก็ตั้งต้นลืมตาเพ่งพระพุทธรูปอีกครั้ง สลับกันอย่างนี้จนกว่าเราจะฝึกไปได้ระยะหนึ่ง รู้ว่าเข้านั่งสมาธิแล้วไม่ต้องพึ่งพระพุทธรูป แต่สามารถเห็นพระพุทธรูปได้
ลักษณะท่านั่งฝึกสมาธิควรเป็นดังนี้ เท้าขวาทับเท้าซ้าย ตัวยืดให้ตรง กางฝ่ามือรวบนิ้วให้ชิดกัน มือขวาทับมือซ้ายหัวแม่มือให้ชนกันเสมอไป มือวางอยู่บนหน้าตัก ตาในไม่หลับ (คือปิดเฉพาะเปลือกตา ลูกนัยน์ตาอยู่ในลักษณะมองตรงไปข้างหน้า) รวมสมาธิอยู่กลางหน้าผาก ระหว่างช่วงต่อของหัวคิ้ว หรือที่เรียกกันว่า "อุณาโลม"
จุดสำคัญ จะนั่ง นอน นอน ยืน ท่าใดก็ดี ควรให้หัวแม่มือชนกันเสมอไป เพื่อธาตุไฟจะได้โคจรหมุนเวียนปรับธาตุให้เสมอ มิฉะนั้นจะเสื่อมทั้งกายทิพย์และกายเนื้อ(เบญจขันธ์) ก่อนที่จะปฏิบัติต่อไป จะต้องทิ้งสิ่งต่างๆ ในความคิดให้หมดไปจากสมอง ในขณะนั่ง คือปลดปริโภคกังวนออกไป ทำจิตใจให้ว่างเปล่า ยึดสมาธิเป็นหลักเหนี่ยวนำ โดยนั่งไปพยายามปรับตัว ให้เลิกคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่จะอุบัติขึ้นมาทางมโน เราควรคิดว่า สิ่งที่คิดนั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นความวิตกกังวล เป็นอุปาทาน หลงผิด เราไม่ควรยึดมั่น เราควรตัดละให้สิ้น ซึ่งถ้าท่านปฏิบัติสมาธิถึงจุดหนึ่งแล้ว ท่านจะสามารถตัดวิตกกังวลได้ เมื่อมีเรื่องราวใดๆ ก็สามารถกำหนดจิตได้เป็นเรื่องๆไป และจะหยุดคิดเมื่อใดก็ได้ เรียกว่าเราสามารถกำหนดความนึกคิดได้ด้วยอำนาจจิตที่ฝึกแล้ว
มนุษย์เราควรรู้จักตน รู้สังขารตน ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ต่างมีหน้าที่อย่างใด? จิตแท้(จิตแรกอุบัติ) ถูกปกปิดครอบงำด้วยกิเลสเหมือนฝุ่นคราบปกปิดความงาม เราได้คิดค้นถึงความจริงของธรรมชาติแล้วหรือ?
พอกิน พอใช้ พออยู่ ถ้าอยู่อย่างสามพอนี้แล้วย่อมถึงสุข การที่จะแบกเอาโรงธรรมและโรงครัวอยู่ด้วยกัน ย่อมถึงธรรมไม่ได้ สำหรับบุคคลที่ยังหมกมุ่นในภาระทางโลก ควรละทิ้งความคิดเหล่านั้นในขณะทำจิตให้เป็นสมาธิ แม้แต่การนัดมิตรสหายก็จะเป็นเหตุให้พลั้งเผลอเกิดวิตกกังวลไขว้เขวได้
เช่นนัดมิตรให้มา ๒๐.๐๐ น. ธรรมดาเราเคยนั่งทำจิตเวลา ๑๙.๐๐ น. ถ้าเป็นเช่นนี้จะทำให้การทำสมาธิจิตไม่ได้ผลเท่าที่ควร จิตจะฟุ้ง ใจที่ฝักใฝ่คิดถึงแต่เวลานัดหมาย ทำให้จิตรวมเป็นสมาธิไม่ได้ เพราะจิตใต้สำนึกกังวลคิดแต่การนัดแนะ ดังนั้นจึงควรงด การมีข้อผูกพันใดๆ ในระหว่างเวลาที่จะปฏิบัติจิต
เมื่อเจริญสมาธิจนลมหายใจรวมเสมอ รวมเสมอในที่นี้หมายถึงการหายใจจะละเอียดขึ้น จนบางครั้งมีอาการคล้ายกับร่างกายไม่ได้หายใจเลย ธาตุทั้งสี่ อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ จะรวมตัว เมื่อรวมตัวปรับธาตุเสมอได้แล้ว จะเห็นเป็นดวงสีขาว เป็นที่น่าสังเกต ถ้าเกิดอุปาทานจะเห็นเป็นสีแสงต่างๆ แทรกขึ้นมา ก็ให้ตั้งสติว่า สิ่งนั้นคืออนิจจังเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาจนให้จิตรวมนิ่งราบเรียบเหมือนผิวน้ำไร้คลื่น นั่นก็แสดงว่าจิตนิ่งแล้วชั่งขณะหนึ่ง
ธาตุในพุทธศาสนาหมายถึงลักษณะของสาร ส่วนธาตุที่ใช้แทนศัพท์ภาษาวิทยาศาสตร์คือ เอลลีเมนต์(Element) คือส่วนย่อยเล็กที่สุดของสาร น่าจะใช้ในภาษาวิทยาศาสตร์ว่ามูลสาร เมื่อเริ่มนิ่งนั้นพยายามรักษาให้ลมหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ โดยเริ่มแรกให้กำหนดยึดคำ พุทธหายใจเข้า โธหายใจออกเพื่อเป็นจุดยึดในการเจริญ อาณาปาณสติ เมื่อฝึกนานๆเข้าจิตเราเป็นสมาธิแข็งพอ โดยรู้สึกจิตนิ่ง หายใจละเอียดเสมือนหนึ่งไม่ได้หายใจ ขั้นต่อไปควรก้าวเข้าสู่จุดละ พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า"ถึงพุทธะทิ้งพุทธะ" คือไม่ยึดพุทธะ และเมื่อลมหายใจละเอียดนิ่งสงบ คำว่า "พุทโธ" ก็จะละไปเอง อารมณ์จะเป็นปีติยินดีไม่สะเทือนทั้งความร้อนและความเย็น อันเป็นนิโรธปัจจัย
ตอนนี้การนั่งของเราจะเห็นเป็นสีขาวซึ่งเป็นแสงแห่งความบริสุทธิ์ เราจงพยายามรวมให้อยู่เป็นวงกลม โดยไม่ใช่อุปาทานนึกเอาเอง(อุปาทานคือคิดว่าตัวได้ฌานแค่นี้ นึกเอาใหญ่ แต่แท้จริงยังไม่ถึง ทางที่ดีให้ทำไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรู้ขั้นและรู้ชั้น) แสงที่จะเป็นวงนั้น คือกายทิพย์ที่อยู่ทุกส่วนภายในร่างกาย ที่เรียกว่า "กายในกาย" ได้วิ่งรวมตัวที่ท้ายทอยแล้ววิ่งรวมผ่านสองข้างมาผสมจิตวิญญาณที่หน้าผาก เมื่อรวมตัวกันแล้ว ก็อาจจะวิ่งเป็นแสงสีขาวออกจากกายเนื้อสู่อากาศ (ตอนนี้คนที่จิตไม่แน่วแน่อาจเป็นบ้าได้ เพราะกลัวเกินเหตุ) ผู้ปฏิบัติควรนั่งตามปกติแล้วเพ่งจิตตามลำแสงนั้นด้วยสติสัมปชัญญะพร้อม จนแสงนั้นนิ่งแล้วค่อยๆ รวมเป็นวง ถ้าจิตยังไม่นิ่งดี วงกลมนั้นเปรียบดังดวงตาอีกดวงหนึ่งของเรา ที่เป็นกระจกสะท้อนพิจารณากายในกายนั้นยังไม่ใส
จนกว่าเราจะบ่มสมาธิให้นิ่ง ยิ่งนิ่งยิ่งขึ้น ดวงนั้นก็จะยิ่งสดใสจนเหมือนแก้ว แล้วพิจารณากายในกายได้แต่ในขณะที่เราทำสมาธิ จิตเราเกิดวอกแวกหรือง่วงนอน เคลิบเคลิ้มจะหลับไป ขอให้เริ่มใหม่โดยการสูดหายใจเข้าออกแรงๆ ยืดตัวตรงขึ้นอีกครั้ง เริ่มปรับจิตใหม่ด้วยความเพียร หรือในขณะที่เราทำสมาธิอยู่นั้น ถ้าเกิดมีอาการปวดศรีษะมีการบีบขมับประสาทตึงเครียด นั่นคือผลแห่งการปรับธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ในร่างกาย ถ้าท่านเกิดอาการเช่นนี้ ให้ใช้ความขันติอย่างถึงที่สุด แล้วยังไม่เป็นผล
รูปที่ ๓
ภาพคลายสมาธิ ในระหว่างนั่งสมาธิ เมื่อกายทิพย์กับธาตุทั้งสี่จะเสมอ หัวแม่มือของท่านจะร้อนดั่งไฟเผา สมองของท่านทั้งสองข้างนี้เหมือนถูกแม่เหล็กกด ถ้าท่านรู้สึกเช่นนี้ขนาดหนัก ท่านจงคลายสมาธิ อำนาจแห่งธาตุไฟนี้ร้ายแรงมาก จะทำให้กายเนื้อเสื่อมได้ จึงควรถอยออกจากการนั่งสมาธิ เข้าท่าคลายสมาธิ
ครึ่งหลับ ครึ่งตื่น แต่มีสติควบคุมตัวเองอยู่ตลอดเวลา พนั้นจะสลายไป ก็ตั้งต้นลืมตาเพ่งพระพุทธรูปอีกครั้ง สลับกันอย่างนี้จนกว่าเราจะฝึกไปได้ระยะหนึ่ง รู้ว่าเข้านั่งสมาธิแล้วไม่ต้องพึ่งพระพุทธรูป แต่สามารถเห็นพระพุทธรูปได้
ขอให้ท่านถอยออกจากสมาธิ ข่มเวทนา คือให้ลืมตาขึ้น ฝ่ามือทั้งสองที่วางบนหน้าตัก ให้แยกออกมาวางบนหัวเข้าของแต่ละข้าง สายตาละลดระดับลงสู่ที่ต่ำ หายใจเข้าออกตามปรกติสักพักหนึ่ง ท่านก็จะรู้สึกว่ามีลมวิ่งออกทางปลายนิ้ว นี่คือการคลายของธาตุไฟในร่างกาย ให้หมั่นเดินจงกรมมากๆ
หากถ้าจิตยังไม่เป็นสมาธิไม่นิ่งสงบ มีสิ่งนึกคิดหรือแสงเสียงอะไรแทรกขึ้นมา จะเป็นผลสะดุ้งเกิดความกลัวในภวังค์ แสงสีขาวนั้นเกิดกระจายกระเซ็นออกเหมือนหนึ่งมีหินปาลงน้ำ ผิวน้ำก็จะแตกกระจายออกเป็นวงแตกซ่านไปทั่ว ช่วงนี้หลวงพ่อสมเด็จฯ ท่านประทานเทศนาไว้ว่า เป็นการตกภวังค์แห่งจิต หัวแม่มือจะแยกสลัดออกจากกันทันที ในตอนนี้ท่านให้ควบคุมจิตว่าง เหมือนไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น สงบอารมณ์และอย่าตื่นเต้นต่อเหตุการณ์ รวมสมาธิจิตให้เข้าหากัน กดหัวแม่มือให้ชนกันใหม่ พยายามควบคุมสติสัมปชัญญะให้ดี สุดท้ายก็จะนิ่งเข้าสู่ภาวะอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าท่านฝึกจนดวงจิตจิตวิญญาณถอดออกจากกายเนื้อนี้ได้ อาจจะพบพวกมารที่มีปณิธานจะมาขัดขวางการกระทำดี ซึ่งอาจมาในรูปจำลอง หรือแปลงกายเป็นเทพ เป็นพรหมชั้นสูง หรือองค์พระพุทธเจ้าก็ดี
ถ้ารูปที่เห็นนั้นแปลงมาจากพวกมารจริงแล้วจะสลายไปในที่สุดไม่คงทนอยู่ได้ ขอให้มั่นใจในบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งได้โปรดเมตตาสั่งสอนกันสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อองค์ฌานเกิดแล้วฝึกฝนต่อไปจนองค์ฌานแข็งแกร่งมากเท่าใด ก็จะสามารถติดต่อกับโลกวิญญาณได้มากเท่านั้น
การนั่งวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะได้อุคหนิมิต จิตสงบเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับบารมีสะสมมาในอดีตชาติมากน้อยเพียงไร และอนุสัยเดิมขัดเกลามามากน้อยแค่ไหนด้วย ข้อสำคัญอย่ารู้ก่อนเหตุ เมื่อยังไม่รู้อย่าพึ่งคาดคะเน อาจผิดได้ ขอให้คิดเสียว่า เรานั่งสมาธิฝึกจิต เพื่อระงับจิตใจ ไม่ให้ฟุ่งซ่าน จนถึงจุดหนึ่งในเอกะยิ้มผ่องใส หนึ่งในเอกะ คือโลกุตระ ละจากโลกียะอันเป็นภาพลวง มีสติพร้อมเพียงที่จะพิจารณาตนให้รู้ตน รู้ทันในสภาพธรรมแห่งอายตนะในขันธ์ นี่คือปัญญาจากการปฏิบัติกรรมฐานวิปัสนา ขันธ์แท้ คือวิญญาณขันธ์ มีวิญญาณในวิญญาณ ไปเกิดเพื่อเสวยกรรมต่างๆที่สร้างมา เราเกิดมาใช้กรรม ถ้ายังไม่รู้จักตน ยังหลงไหลในการปรุงแต่ง ทำแต่ความชั่ว หรือไม่ทำความดี ก็ยังต้องมาเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะถึงชาติที่บำเพ็ญจิต และทำความดีถึงขีดสุดจึงจะพ้นจากวัฏสงสาร
และในโลกวิญญาณจะเป็นรูปหรือนามใด ยกเว้นจากผู้เข้าแดนนิพพานแล้ว หากแม้นมิได้ไปบำเพ็ญต่อ เมื่อสิ้นอายุขัยก็ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อเสวยกรรมต่อไป แต่ถ้าทำผิดในโลกวิญญาณเพียงเส้นยาแดงเท่านั้น ก็ต้องถูกลงโทษ หนักเบาแล้วแต่เหตุที่กระทำ เพราะโลกวิญญาณทรงไว้ด้วยความยุติธรรมจงเร่งปรับจิตเพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร เวียนว่ายตายเกิดนี้เถิด
การทำดี ย่อมมีดี สนองตอบ
การทำชั่ว ชั่วนั้น ย่อมสนอง
การนินทา สรรเสริญ เป็นอารมณ์ของมนุษย์
ความบริสุทธิ์ด้วยความแน่ของจิตไซร้
มั่นคง ธรรมอยู่
ถึงพุทธะ รู้พุทธะ
ท่านอยากถึงขั้น ย่อมไม่ถึงขั้น ท่านไม่ยึดขั้น ย่อมถึงขั้น
พระนิพพาน อยู่ไม่สูง และไม่ต่ำ
ภาวการณ์ จิตนิ่ง ยิ้ม ประภัสสร
เอกะหนึ่ง ผ่องใสไซร้ องค์ฌานเกิด
เยือกเย็นข่ม พลังจิต ขึ้นเอกะ
สัมผัสจิตถึงวิญญาณ
ภาวการณ์ รู้แจ้ง แทงตลอด
การจุติของสัตว์โลก เมื่อถึงธรรม
การนั่งสมาธิ องค์ฌานจะเกิดเร็วต่อเมื่อผู้ปฏิบัติต้องนั่งให้เป็นเวลา มีความขันติ มีความแน่วแน่ และมีความจริงจังหลังจากการนั่งวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ควรอธิษฐานดังนี้
ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำจิตสงบชั่วขณะหนึ่งนี้ ขอถวายกุศลแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกโพธิเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ และเทพพรหมผู้สำเร็จทั้งหลาย โปรดแผ่พลังจิต แผ่บารมีช่วยข้าน้อย เกิดปัญญาเห็นธรรมโดยเร็วเทอญ
สำหรับพระภิกษุสามเณร หลวงพ่อสมเด็จฯท่านแนะให้อธิษฐานดังนี้
ด้วยอานิสงส์ในการปฏิบัติจิตของข้าฯ ที่ได้สงบไปชั่วยามนี้ จงเป็นกุศลแผ่ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยญาติโยมที่ใส่บาตรให้แก่ข้าฯ ความปรารถนาของญาติโยมผู้สร้างกุศลกับข้าฯ ที่อุทิศให้กับดวงวิญญาณก็ดี หรือเพื่อการเสวยบุญในปรภพ ในอนาคตชาติของตนเองก็ดี ในฐานะข้าฯนี้ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ขอแผ่สมาธิจิตตามกิจของสงฆ์ที่ได้ทำมาแล้วให้เขาเหล่านั้นโดยทั่วกันเทอญฯ........