E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

ประวัติอาจารย์ประเสริฐ สุโขธนัง

ประเสริฐ สุโขธนัง

ประวัติสังเขป อาจารย์ประเสริฐ สุโขธนัง

เกิด ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔
ถึงแก่กรรม ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖

อาจารย์ประเสริฐ สุโขธนัง เกิดเมื่อวันที่ เกิด ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ที่โรงพยาบาลในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ เป็นบุตรของนายแถม สุโขธนัง
และนางสงวน สุโขธนัง มีพี่น้อง รวมกัน ๓ คน ได้แก่
๑.เด็กหญิงอี๊ด สุโขธนัง (เสียชีวิต)
๒.นายประเสริฐ สุโขธนัง
๓.นายชาญกิจ สุโขธนัง
การศึกษา
นายประเสริฐ สุโขธนัง จบการศึกษาชั้นประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนดำเนินศึกษาใกล้สะพานวันชาติ บางลำพู และสอบเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเพาะช่างกรมศิลปากร
จบหลักสูตรอนุปริญญา ประโยคครูมัธยมการช่าง สาขาจิตรกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเพาะช่าง หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เข้ารับราชการเป็นอาจารย์๑ โรงเรียนบางเลนวิทยา จ.นครปฐม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๗
ความสามารถส่วนตัว
มีฝีมือละเอียดละออในการวาดภาพลวดลายไทย เขียนภาพเหมือน ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพวาด มีผลงานภาพวาดในหลวงรัชกาลที่ ๙ ลงรักปิดทองขนาด ๑ ตารางฟุต มอบให้ไว้เป็นที่ระลึกแก่คุณ นิภา สุโขธนัง(มีทองคำ) ซึ่งทำให้ผู้รับประทับใจมาก
นายประเสริฐ สุโขธนัง ได้รู้จักสำนักปู่สวรรค์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ (ปีเดียวกันกับที่รับราชการครูในโรงเรียนบางเลนวิทยา) เพื่อบูชาพระผงสมเด็จดิน ๙ประเทศ 
ลาออกจากราชการครูในปี พ.ศ.๒๕๒๓ และเข้าร่วมงานในเครือข่ายงานของสำนักปู่สวรรค์ สละชีวิตทางโลก สมัครเป็นสานุศิษย์ประเภทที่ ๓ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๓ รวมระยะเวลา ๓๓ ปี
อาจารย์ประเสริฐ สุโขธนัง สมรสกับนางบังอร ช่อทองดี มีบุตรี ๑ คน คือ ดญ.ประภาอร สุโขธนัง
ประวัติการทำงานในเครือข่ายงานสำนักปู่สวรรค์
-บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สาร์นสวรรค์
-กรรมการประสานงานของชมรมอาหารมังสวิรัติแห่งประเทศไทย
-กรรมการและเลขานุการชมรมสานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์
-กรรมการประสานงานกรุงเทพมหานคร สำนักงานใหญ่ โครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อความสถิตสถาพรของแผ่นดินไทย
-กรรมการสำนักงานทูตสันติภาพแห่งโลก
-กรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนเพชรเกษม สำนักงานเขตบางแค สังกัดกรุงเทพมหานคร
-กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมมังสวิรัติไทย
-ผู้ดำเนินรายการ "สวดมนต์เพื่อชีวิต" สถานีวิทยุมณฑลทหารบก ที่๑๑ สวนมิสกวัน ภาคเอเอ็ม เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑
บั้นปลายชีวิต
อาจารย์ประเสริฐ สุโขธนัง มีอาการป่วยหลายโรค ได้เข้ารับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลตากสินตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา ๐๔.๓๐ น.ของวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖

ประวัติ พล.ต.ต.พิบูลย์ ภาษวัธน์

พล.ต.ต.พิบูลย์ ภาษวัธน์

ประวัติสังเขปของ พลตำรวจตรี พิบูลย์ ภาษวัธน์

กำเนิด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๓ ที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

การศึกษา เรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนประจำอำเภอบ้านนา นายกพิทยาคารชั้นมัธยมเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดนครนายก นาครส่ำสงเคราะห์และโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จบหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์ (ม.๘) แผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ชั้นอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ สำเร็จปริญญาตรีทางกฎหมายเป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ (อายุ ๑๙ ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) และสำเร็จปริญญาโททางรัฐศาสตร์มหาบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕

อาชีพการงาน  เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีที่สำนักงานเลขานุการ สำนักพระราชวังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ต่อมาเมื่อได้โอนไปรับราชการในกรมตำรวจเป็นร้อยตำรวจตรีเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ และได้ปฏิบัติหน้าที่งานตำรวจตลอดมาจนกระทั่งออกจากราชการเมื่อ ปี พ.ศง๒๕๒๔ ตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นรองผู้บัญชาการศึกษา ยศพลตำรวจตรี เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับคือ ปถมาภรณ์ช้างเผือก

งานพระศาสนา  ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับอนุญาตให้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาสเป็นกรณีพิเศษ มีความรู้สอบได้นักธรรมตรี ได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล ๒ ครั้ง ไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)ที่ประเทศศรีลังกา ๑ ครั้ง

การปฏิบัติธรรมที่สำคัญ  ได้ศึกษาเรื่องจิตวิญญาณศาสตร์ที่สำนักปู่สวรรค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมศาสนาสัมพันธ์ภาคีสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ท่านทูตสันติภาพ อาจารย์สุชาติ โกศลกิติวงศ์ เป็นนายกสมาคม และได้ร่วมเป็นคณะธรรมทูตศาสนาสัมพันธ์ไปดำเนินงานสร้างภราดรภาพทางศาสนาและส่งเสริมสันติภาพอันถาวรในโลกมนุษย์ เพื่อยับยั้งสงครามโลกครั้งที่ ๓ ยังประเทศต่างๆรวม ๗ ครั้ง จำนวน ๑๔ ประเทศ คือ อินเดีย อิตาลี(นครวาติกัน) อังกฤษ โปแลนด์ มองโกเลีย สหภาพโซเวียต ไต้หวัน ฮ่องกง จีน สหรัฐอเมริกา (สหประชาชาตินครนิวยอร์ค) เยอรมันนีตะวันตก ฮังการี ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์(สหประชาชาติกรุงเจนีวา)

บั้นปลายชีวิต   พลตำรวจตรี พิบูลย์ ภาษวัธน์ เป็นบุคคลที่ยึดมั่นในความดี ทำงานทุกชิ้นด้วยความจริงจังจดจ่อ และซื่อสัตย์สุจริต ในบั้นปลายชีวิตของท่านหลังจากที่ท่านตรากตรำทำงานเพื่อประเทศชาติ และมนุษยชาติมาเป็นเวลายาวนาน ท่านก็ล้มป่วยลง และถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๒๒.๑๐ น. รวมสิริอายุได้ ๘๘ ปี ๓ เดือน

ประวัติอาจารย์เกหลง พานิช

kealong

ประวัติอาจารย์เกหลง พานิช

ชาตะ                   ๒๕ สิงหาคม ๒๔๕๘

มรณะ                    ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑

อายุ                         ๙๓ ปี

บิดา                        นายปี     สินเจิมสิริ

มารดา                    นางสิน  สินเจิมสิริ

พี่ๆ                         ๑) นางเหลียง             สินเจิมสิริ

                                ๒) นายเสริมศักดิ์       สินเจิมสิริ

                                ๓) นายสมพงษ์          สินเจิมสิริ

คู่สมรส                  นายจรูญ   พานิช

ประวัติการศึกษา

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคประถมศึกษา (ปป.)

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคมัธยมศึกษา (ปม.)

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคพิเศษมัธยม (พม.)

- ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศบ.)จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

- ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

อาชีพการงาน

                - พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๗ ครูวิชาภาษาไทย ประจำโรงเรียนสตรีบ้านทวาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น

  โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

- พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๑๘ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ตำแหน่งสุดท้ายเป็นศึกษานิเทศก์เอก

เกียรติประวัติและผลงานในอดีต

                - ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยศึกษานิเทศก์ ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาไทย ณ โรงเรียนจิตรลดา

   แทน พระอาจารย์ประจำขณะลาป่วย

- ประพันธ์หนังสือเด็กหลายฉบับ บางฉบับได้รับรางวัลยอดเยี่ยมหนังสือเด็ก และบางเรื่องได้รับ

   คัดเลือกพิมพ์เป็นบทเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

                - พ.ศ. ๒๕๑๑ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ตม.)

                - พ.ศ.๒๕๑๕ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ตช.)

kl09

ประวัติการทำงานที่สำนักปู่สวรรค์

พ.ศ. ๒๕๒๒      อาจารย์เกหลง พานิช และบุตรสาวคนหนึ่งมาที่สำนักปู่สวรรค์ ที่บางประกอกเพื่อขอยาแก้โรคนอนไม่หลับ

พ.ศ. ๒๕๑๓        อาจารย์เกหลง พานิช ประสบอุบัติเหตุกระดูกขาข้างซ้ายแตกตั้งแต่เข่า หมอลงความเห็นว่าคงจะเดินไม่ได้ เพรากระดูชิ้นสำคัญนั้นหัวขั้วเอ็นหลุด มีกระดูกติดอยู่นิดเดียว ไม่สามารถจะทำให้ติดกับกระดูกชิ้นใหญ่ได้ หมอเข้าเฝือกให้ อาจารย์เกหลงต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเลิดสิน ท่านได้ให้ลูกสาวคนหนึ่งไปขอยาหลวงปู่ทวดที่สำนักปู่สวรรค์ ซึ่งย้ายไปอยู่ที่ ซอย ๖๕ ถนนเพชรเกษม บางแค (ที่ตั้งปัจจุบัน)

 หลวงปู่ทวดสั่งยาให้ไปต้มดื่ม ให้ดื่มน้ำมันมนต์วันละหลอด ๗ วัน และผูกตะกรุดโทนด้วย เมื่อถอดเฝือก ผลการฉายเอ็กซเรย์ปรากฏว่า กระดูกชิ้นเล็กนั้นเริ่มติดกับกระดูกชิ้นใหญ่แล้ว ๖ เดือน เดินได้โดยใช้ไม้ช่วย

พ.ศ. ๒๕๑๕ อาจารย์เกหลง มาสำนักปู่สวรรค์โดยใช้ไม้เท้าช่วยพยุง ซึ่งได้รับพระเมตตาจากท่านบรมครูช่วยรักษาขาให้ทุกครั้ง ท่านบรมครูบอกให้อาจารย์เกหลงทราบว่าที่ป่วยเพราะกรรมในอดีตชาติเคยเป็นนายพรานยิงขาสัตว์บาดเจ็บ ทำให้ต้องชดใช้หนี้กรรมนั้น

ต่อมาเมื่อแข็งแรงดีขึ้นแล้วอาจารย์เกหลงจึงไดรับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการของสำนักปู่สวรรค์ ในการร่างหนังสือ จดหมาย รวบรวมจัดทำหนังสือธรรมะคำเทศน์ต่างๆ ของท่านบรมครูสำนักปู่สวรรค์

หนังสือธรรมะคำเทศน์และหนังสือเรื่องอื่นๆ ที่รวบรวมจัดทำและพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ที่สำนักปู่สวรรค์ รวมทั้งหมด ๒๐๐ กว่าเล่ม หนังสือหลายเล่มเผยแพร่ที่สำนักปู่สวรรค์ รวมทั้งหมด ๒๐๐ กว่าเล่ม หนังสือหลายเล่มไม่ได้ใส่ชื่ออาจารย์เกหลง พานิช แต่ท่านเป็นผู้รวบรวมจัดทำทั้งสิ้น

ผลงานชิ้นสำคัญที่อาจารย์เกหลง พานิช ประพันธ์ไว้คือ คำสดุดีท่านบรมครูสำนักปู่สวรรค์ ในงานพิธีบูชาครู ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑

อาจารย์เกหลง พานิช ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ของสำนักปู่สวรรค์มาโดยตลอด โดยเฉพาะการจัดงานพิธีต่างๆ ของสำนักปู่สวรรค์ และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา จ.ราชบุรี ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จัดสร้างอุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ จ.เพชบุรีแล้ว อาจารย์เกหลง ก็ยังไปร่วมกิจกรรมด้วยอย่างสม่ำเสมอตลอดมา

พ.ศ. ๒๕๑๘ หุบผาสวรรค์เมืองศาสนา ประกอบพิธีเปิดสถานพยาบาลหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา โดยมีนายวัชระ สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธานเปิดงาน หม่อมเจ้าชุมปกะบุตร ชุมพล เป็นประธานจัดงาน อาจารย์เกหลง พานิช ได้แต่งเพลงทำนองไทยเดิมเกี่ยวกับหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มสตรีพิทักษ์แผ่นดินไทย ซึ้งออกไปปฎิบัติงานร่วมกับคณะธรรมทูตสำนักปู่สวรรค์ ไปบำรุงขวัญ แจกผ้ายันต์พิทักษ์เอกราชแก่ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดนอาสาสมัครที่ปฎิบัติหน้าที่พิทักษ์แผ่นดินไทยตามชายแดนห่างไกลทั่วทุกภาคของประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๙ ประมาณปลายปีได้รับบัญชาให้ย้ายไปอยู่ประจำที่หุบผาสวรรค์เมืองศาสนา จ.ราชบุรี และยังทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการในการรวบรวมทำหนังสือและตรวจต้นฉบับหนังสือของสำนักปู่สวรรค์ด้วย

พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้กลับไปอยู่บ้าน อาจารย์เกหลง พานิช ขอให้ส่งงานเกี่ยวกับหนังสือไปให้ทำที่บ้าน โดยมีคนไปส่งและรับเอกสารอาจารย์บอกลูกศิษย์ว่า “ป้ามีเวลาในโลกมนุษย์เหลือน้อยแล้ว ขอให้ส่งงานไปให้ป้าทำที่บ้านนะ เพราะถ้าป้ากลับโลกวิญญาณแล้วจะไม่ได้ทำงานของท่านบรมครู”

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมอาหารมังสวิรัติแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเสริมความรู้เดือนละครั้งจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒

พ.ศ. ๒๕๒๓- ๒๕๕๑ อาจารย์เกหลง พานิช ได้รับเลือกเป็น ประธานชมรมอาหารมังสวิรัติแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมประจำปีของชมรมฯ ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมของทุกปี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๗ ได้รับพระเมตตาจากท่านบรมครูให้ไปพักอยู่ที่อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม จ.เพชรบุรี เพื่อเป็นการต่ออายุ ท่านบรมครูแนะนำให้รักษากายเนื้อให้ดีและแข็งแรง จะได้อยู่สร้างกุศลนานๆ อาจารย์เกหลง พานิช ได้ไปพักเป็นครั้งคราว จนกระทั่งอายุ ๘๙ ปี มีอาการป่วยกระเสาะกระแสะจึงกลับไปอยู่บ้าน

 ท่านอาจารย์เกหลง พานิช ทำงานให้สำนักปู่สวรรค์ ตั้งแต่อายุ ๕๔ ปี จนถึงอายุ ๙๓ ปี รวมเวลาทำงาน ๓๙ ปี อาจารย์เกหลง พานิช ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สานุศิษย์ มีความเชื่อว่าอาจารย์เกหลงจากไปเพียงสังขารกายเนื้อ กุศลกรรมดีที่ท่านสร้างสมไว้ ส่งผลให้ท่านได้เสวยสุขอยู่บนสรวงสวรรค์ และเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านอาจารย์เกหลง ยังช่วยงานของสำนักปู่สวรรค์ในโลกวิญญาณต่อไป

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อัจฉรา เนื้อนวล รวบรวม จากหนังสือ พระอนาคตวงศ์ พระเจ้า ๑๐ พระองค์ในอนาคต 

ประวัติ พล.ร.ต.สุระ ยุทธวงศ์

พล.ร.ต.สุระ ยุทธวงศ์

ประวัติสังเขป พลเรือตรีสุระ ยุทธวงศ์ 

พล.ร.ต.สุระ ยุทธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของ พันเอกสรรค์ และนางระเบียบ ยุทธวงศ์ มีพี่น้องร่วมกัน ๔ คน ได้แก่
๑.พลเรือตรี สุระ ยุทธวงศ์
๒.พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์
๓.ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
๔.พญ.กิติมา ยุทธวงศ์

พล.ร.ต.สุระ ยุทธวงศ์ สมรสกับคุณพาณี ยุทธวงศ์ และมีบุตรธิดารวม ๒ คน

การศึกษา
๑.โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (๒๔๙๙ )
๒.โรงเรียนเตรียมนายเรือ (๒๕๐๑)
๓.โรงเรียนนายเรือ(๒๕๐๖) วทบ.ทร.เกียรตินิยมชั้นโท
๔.โรงเรียนนายทหารชั้นต้น(พรรคกลิน)(๒๕๐๙)
๕.มหาวิทยาลัย Standford U.S.A.(2514) ปริญญาโท M.SC.(EE)
๖.Naval Staff Course Naval War Collage U.S.A.(2520)
๗.วทร.รุ่นที่ ๒๔
๘.วปรอ.รุ่น ๓๕๕

ชีวิตการทำงาน
รับราชการในกองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๐๑ - ๒๕๓๖
ตำแหน่ง
๑.นายช่างกล ร.ล.ล่องลม
๒.ต้นกล ร.ล.ตะลิบง
๓.นายช่างแผนกช่างวิทยุกองโรงงานไฟฟ้า กรมอู่ทหารเรือ
๔.ประจำกองกองทดลอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาทหาร บก.ทหารสูงสุด
๕.นายช่าง,หัวหน้านายช่างโรงงานซ่อมเครื่องสื่อสารภายในกรมอู่ทหารเรือ
๖.อาจารย์,อาจารย์หัวหน้าวิชา กองวิชาการศูนย์ฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์ กรมอู่ทหารเรือ
๗.ฝ่ายเทคนิคและรักษาราชการหัวหน้าแผนกควบคุมพัสดุ กองควบคุมโครงการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ
๘.ฝ่ายเทคนิคและรักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์พัสดุช่าง กรมอู่ทหารเรือ
หน้าที่พิเศษ
๑.อาจารย์สอนวิชาอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนนายเรือ
๒.อาจารย์สอนวิชาเอกสารวิจัยและการสื่อสาร โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
๓.กรรมการและคณะทำงานด้านเทคนิคต่างๆ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-ปถมาภรณ์มงกุฏไทย
-ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
ผลงาน
๑.เรียบเรียงตำราอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น(๒๕๒๑)
๒.เรียบเรียงตำราดิจิตัลเทคนิค(๒๕๒๔)
๓.เรียบเรียงตำราการสื่อสารดาวเทียม FM-Single Channel Per Carrier ร่วมกับ ร.อ.อิสรา รำไพกุล (๒๕๒๙)
๔.เขียนบทความเสนอแนวความคิดและแนะนำด้านเทคนิคของวารสารนาวิกศาสตร์

พล.ร.ต.สุระ ยุทธวงศ์ ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ และไปทำงานที่ UNION TOMITA(Thailand) Co.,LTD
ระหว่าง พ.ศ ๒๕๓๗-๒๕๔๒

บั้นปลายชีวิต
พลเรือตรี สุระยุทธวงศ์ ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดแดงแตก ติดเชื้อในร่างกาย ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบที่โรงพยาบาลพญาไท ๒ ในคืนวันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔
เวลา ๒๒.๑๒ น. สิริรวมอายุได้ ๗๒ ปี ๔ เดือน

ประวัติ ศจ.หลวงสมานวนกิจ

ศาตราจารย์หลวงสมานวนกิจ

ศาสตราจารย์ หลวงสมานวนกิจ มีนามเดิมว่า เจริญ สมานวนกิจ เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2439 ที่จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน สอบแข่งขันชิงทุนกรมป่าไม้ ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่โรงเรียนเบอร์มาฟอเรสต์ ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการในกรมป่าไม้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองค้นคว้าของป่า ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493 จนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494
ในปี พ.ศ. 2478 จัดตั้งโรงเรียนป่าไม้ขึ้นที่จังหวัดแพร่ เป็นที่อบรมสั่งสอนกุลบุตรไทยในวิชาการป่าไม้ทั้งในทางทฤษฎีและ ทางปฎิบัติ สำหรับจะได้เป็นพนักงานป่าไม้ในภายหน้า โรงเรียนแห่งนี้ได้เจริญมาเป็นลำดับ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2481 และเข้ารวมเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น โรงเรียนวนศาสตร์โอนจากสังกัดกรมป่าไม้เข้ามาเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือคณะวนศาสตร์ในปัจจุบัน นอกจากนั้นท่านยังได้ส่งเสริมด้านประชาสัมพันธ์ให้มีนิตยสาร ชื่อ วนศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2479 เพื่อเป็นหนังสือเผยแพร่กิจการและความรู้ในการป่าไม้ ในระหว่างพนักงานป่าไม้ด้วยกันและแก่บุคคลภายนอก
ในปี พ.ศ. 2493 เมื่อดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น ได้มี กิจการกับต่างประเทศทั้งการส่งข้าราชการ ไปประชุมในการประชุมระหว่างประเทศ ไปศึกษาและดูงาน และมีผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือแนะนำงาน ทางวิชาการในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2494 มีประกาศกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไม้สัก ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 กรมป่าไม้โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและคณะรัฐมนตรี ได้ให้สัมปทานป่าไม้แม่อิง จังหวัดเชียงราย แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมอบหมายให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นผู้จัดทำ และแบ่งผลกำไรให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณปีละ 3 ล้านบาท ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตราธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 เป็นต้นไป จะเห็นได้ว่าท่านเป็นผู้ที่ทั้งอุทิศเวลาและบุกเบิกงานป่าไม้ ตลอดจนสนใจสร้างโรงเรียนป่าไม้เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ และพัฒนากิจการป่าไม้ของประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศมาโดยลำดับ ทำให้กิจการป่าไม้ไทยทันสมัยจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังจากที่โอนมาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้วนั้น มีความสนใจเรื่องการเลี้ยงผึ้งและเปิดเป็นวิชาการสาขาใหม่ขึ้นในแผนกเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสั่งผึ้งพันธุ์ต่างประเทศจากประเทศออสเตรเลียและอิตาลี มีนิสิตเข้าศึกษา 42 คนและบุคคลทั่วไปสมัครเรียนกว่าร้อยคน เจ้าหน้าที่วิชาการเลี้ยงผึ้งได้จัดพิมพ์เอกสารคำชี้แจงเรื่องการเลี้ยงผึ้ง 2 ครั้งๆ ละ 1,000 เล่ม มีผู้สนใจติดต่อขอมาจนหมดสิ้น ในครั้งสุดท้ายได้จัดการพิมพ์หนังสือคู่มือการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งศาสตราจารย์หลวงสมานวนกิจได้เรียบเรียงขึ้น มีประชาชนติดต่อขอซื้อตลอดมา และท่านได้ส่งบทความไปออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงในการเลี้ยงผึ้ง 5 ครั้ง และในการแสดงวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ทางมหาวิทยาลัยก็ได้นำผึ้งไปร่วมแสดงด้วย ในการเลี้ยงผึ้งครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทางสาขาวิชาสวนผลไม้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากที่ได้ทำการเลี้ยงผึ้งแล้ว ปรากฏว่าผลไม้ติดลูกมากกว่าแต่ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มโอ ติดผลเพิ่มขึ้นจาก 290 ผล เป็น 743 ผล สรุปว่า ทั้งนี้ผึ้งน่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้ส้มติดผลดกขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

http://kuhistory.ku.ac.th/03/kaewkaset_jan2003/Samarn.htm

ชีวิตการทำงานที่สำนักปู่สวรรค์

samhan300-1

 

ศาสตรจารย์หลวงสมานวนกิจท่านเข้ามาทำงานรับใช้ท่านบรมครูด้วยการเป็นกรรมการสำนักปู่สวรรค์ ในเบื้องแรกที่ท่านเข้ามาเพราะท่านมีอาการป่วยเนื่องจากโรคภัยต่างๆ จนท่านปรารภว่าอาจจะไม่มีชีวิตรอดต่อไปได้ ต่อมามีผู้แนะนำให้ท่านไปรับการรักษาจากดวงพระวิญญาณของหลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด) ซึ่งท่านก็ได้รักษาและสั่งให้หลวงสมานวนกิจ หมั่นสร้างกุศลอุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวร

ต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็หายเป็นปรกติ ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น ศาสตราจารย์หลวงสมานท่านมีจิตรำลึกถึงพระคุณของท่านบรมครูจึงตัดสินใจใช้ชีวิตในบั้นปลายเพื่อรับใช้ท่านบรมครู ด้วยการสมัครเข้ามาเป็นกรรมการของสำนักปู่สวรรค์

samhan300-2

ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมกิจการเกษตรสาธิตในพื้นที่ หุบผาสวรรค์

ต่อมาเมื่อท่านบรมครูมีบัญชาที่จะสร้างหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาที่ จ.ราชบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ชุกชุมไปด้วยไข้ป่า โจร และผู้ก่อการร้าย ประชาชนในพื้นที่ยากจนเนื่องจากขาดอาชีพ ศาสตรจารย์หลวงสมานวนกิจท่านมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรสมัยใหม่ การสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในพื้นที่ ต.ดอนทราย สามารถลืมตาอ้าปาก มีอาชีพที่มั่นคง จะได้ไม่ต้องไปประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย และไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ก่อการร้าย นอกจากนี้ท่านยังแต่งหนังสือเกี่ยวกับวิญญาณ และการเกษตรต่างๆไว้หลายเล่ม เพื่อให้สังคมได้ศึกษาและเข้าใจเรื่องวิญญาณ

Contribute!
Books!
Shop!