E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

ประวัติอาจารย์เกหลง พานิช

kealong

ประวัติอาจารย์เกหลง พานิช

ชาตะ                   ๒๕ สิงหาคม ๒๔๕๘

มรณะ                    ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑

อายุ                         ๙๓ ปี

บิดา                        นายปี     สินเจิมสิริ

มารดา                    นางสิน  สินเจิมสิริ

พี่ๆ                         ๑) นางเหลียง             สินเจิมสิริ

                                ๒) นายเสริมศักดิ์       สินเจิมสิริ

                                ๓) นายสมพงษ์          สินเจิมสิริ

คู่สมรส                  นายจรูญ   พานิช

ประวัติการศึกษา

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคประถมศึกษา (ปป.)

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคมัธยมศึกษา (ปม.)

- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูประโยคพิเศษมัธยม (พม.)

- ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศบ.)จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

- ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

อาชีพการงาน

                - พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๗ ครูวิชาภาษาไทย ประจำโรงเรียนสตรีบ้านทวาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น

  โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

- พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๑๘ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ตำแหน่งสุดท้ายเป็นศึกษานิเทศก์เอก

เกียรติประวัติและผลงานในอดีต

                - ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยศึกษานิเทศก์ ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาไทย ณ โรงเรียนจิตรลดา

   แทน พระอาจารย์ประจำขณะลาป่วย

- ประพันธ์หนังสือเด็กหลายฉบับ บางฉบับได้รับรางวัลยอดเยี่ยมหนังสือเด็ก และบางเรื่องได้รับ

   คัดเลือกพิมพ์เป็นบทเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

                - พ.ศ. ๒๕๑๑ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ตม.)

                - พ.ศ.๒๕๑๕ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ตช.)

kl09

ประวัติการทำงานที่สำนักปู่สวรรค์

พ.ศ. ๒๕๒๒      อาจารย์เกหลง พานิช และบุตรสาวคนหนึ่งมาที่สำนักปู่สวรรค์ ที่บางประกอกเพื่อขอยาแก้โรคนอนไม่หลับ

พ.ศ. ๒๕๑๓        อาจารย์เกหลง พานิช ประสบอุบัติเหตุกระดูกขาข้างซ้ายแตกตั้งแต่เข่า หมอลงความเห็นว่าคงจะเดินไม่ได้ เพรากระดูชิ้นสำคัญนั้นหัวขั้วเอ็นหลุด มีกระดูกติดอยู่นิดเดียว ไม่สามารถจะทำให้ติดกับกระดูกชิ้นใหญ่ได้ หมอเข้าเฝือกให้ อาจารย์เกหลงต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเลิดสิน ท่านได้ให้ลูกสาวคนหนึ่งไปขอยาหลวงปู่ทวดที่สำนักปู่สวรรค์ ซึ่งย้ายไปอยู่ที่ ซอย ๖๕ ถนนเพชรเกษม บางแค (ที่ตั้งปัจจุบัน)

 หลวงปู่ทวดสั่งยาให้ไปต้มดื่ม ให้ดื่มน้ำมันมนต์วันละหลอด ๗ วัน และผูกตะกรุดโทนด้วย เมื่อถอดเฝือก ผลการฉายเอ็กซเรย์ปรากฏว่า กระดูกชิ้นเล็กนั้นเริ่มติดกับกระดูกชิ้นใหญ่แล้ว ๖ เดือน เดินได้โดยใช้ไม้ช่วย

พ.ศ. ๒๕๑๕ อาจารย์เกหลง มาสำนักปู่สวรรค์โดยใช้ไม้เท้าช่วยพยุง ซึ่งได้รับพระเมตตาจากท่านบรมครูช่วยรักษาขาให้ทุกครั้ง ท่านบรมครูบอกให้อาจารย์เกหลงทราบว่าที่ป่วยเพราะกรรมในอดีตชาติเคยเป็นนายพรานยิงขาสัตว์บาดเจ็บ ทำให้ต้องชดใช้หนี้กรรมนั้น

ต่อมาเมื่อแข็งแรงดีขึ้นแล้วอาจารย์เกหลงจึงไดรับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการของสำนักปู่สวรรค์ ในการร่างหนังสือ จดหมาย รวบรวมจัดทำหนังสือธรรมะคำเทศน์ต่างๆ ของท่านบรมครูสำนักปู่สวรรค์

หนังสือธรรมะคำเทศน์และหนังสือเรื่องอื่นๆ ที่รวบรวมจัดทำและพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ที่สำนักปู่สวรรค์ รวมทั้งหมด ๒๐๐ กว่าเล่ม หนังสือหลายเล่มเผยแพร่ที่สำนักปู่สวรรค์ รวมทั้งหมด ๒๐๐ กว่าเล่ม หนังสือหลายเล่มไม่ได้ใส่ชื่ออาจารย์เกหลง พานิช แต่ท่านเป็นผู้รวบรวมจัดทำทั้งสิ้น

ผลงานชิ้นสำคัญที่อาจารย์เกหลง พานิช ประพันธ์ไว้คือ คำสดุดีท่านบรมครูสำนักปู่สวรรค์ ในงานพิธีบูชาครู ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑

อาจารย์เกหลง พานิช ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ของสำนักปู่สวรรค์มาโดยตลอด โดยเฉพาะการจัดงานพิธีต่างๆ ของสำนักปู่สวรรค์ และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา จ.ราชบุรี ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จัดสร้างอุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ จ.เพชบุรีแล้ว อาจารย์เกหลง ก็ยังไปร่วมกิจกรรมด้วยอย่างสม่ำเสมอตลอดมา

พ.ศ. ๒๕๑๘ หุบผาสวรรค์เมืองศาสนา ประกอบพิธีเปิดสถานพยาบาลหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา โดยมีนายวัชระ สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธานเปิดงาน หม่อมเจ้าชุมปกะบุตร ชุมพล เป็นประธานจัดงาน อาจารย์เกหลง พานิช ได้แต่งเพลงทำนองไทยเดิมเกี่ยวกับหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มสตรีพิทักษ์แผ่นดินไทย ซึ้งออกไปปฎิบัติงานร่วมกับคณะธรรมทูตสำนักปู่สวรรค์ ไปบำรุงขวัญ แจกผ้ายันต์พิทักษ์เอกราชแก่ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดนอาสาสมัครที่ปฎิบัติหน้าที่พิทักษ์แผ่นดินไทยตามชายแดนห่างไกลทั่วทุกภาคของประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๙ ประมาณปลายปีได้รับบัญชาให้ย้ายไปอยู่ประจำที่หุบผาสวรรค์เมืองศาสนา จ.ราชบุรี และยังทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการในการรวบรวมทำหนังสือและตรวจต้นฉบับหนังสือของสำนักปู่สวรรค์ด้วย

พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้กลับไปอยู่บ้าน อาจารย์เกหลง พานิช ขอให้ส่งงานเกี่ยวกับหนังสือไปให้ทำที่บ้าน โดยมีคนไปส่งและรับเอกสารอาจารย์บอกลูกศิษย์ว่า “ป้ามีเวลาในโลกมนุษย์เหลือน้อยแล้ว ขอให้ส่งงานไปให้ป้าทำที่บ้านนะ เพราะถ้าป้ากลับโลกวิญญาณแล้วจะไม่ได้ทำงานของท่านบรมครู”

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมอาหารมังสวิรัติแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเสริมความรู้เดือนละครั้งจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒

พ.ศ. ๒๕๒๓- ๒๕๕๑ อาจารย์เกหลง พานิช ได้รับเลือกเป็น ประธานชมรมอาหารมังสวิรัติแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมประจำปีของชมรมฯ ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมของทุกปี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๗ ได้รับพระเมตตาจากท่านบรมครูให้ไปพักอยู่ที่อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม จ.เพชรบุรี เพื่อเป็นการต่ออายุ ท่านบรมครูแนะนำให้รักษากายเนื้อให้ดีและแข็งแรง จะได้อยู่สร้างกุศลนานๆ อาจารย์เกหลง พานิช ได้ไปพักเป็นครั้งคราว จนกระทั่งอายุ ๘๙ ปี มีอาการป่วยกระเสาะกระแสะจึงกลับไปอยู่บ้าน

 ท่านอาจารย์เกหลง พานิช ทำงานให้สำนักปู่สวรรค์ ตั้งแต่อายุ ๕๔ ปี จนถึงอายุ ๙๓ ปี รวมเวลาทำงาน ๓๙ ปี อาจารย์เกหลง พานิช ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สานุศิษย์ มีความเชื่อว่าอาจารย์เกหลงจากไปเพียงสังขารกายเนื้อ กุศลกรรมดีที่ท่านสร้างสมไว้ ส่งผลให้ท่านได้เสวยสุขอยู่บนสรวงสวรรค์ และเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านอาจารย์เกหลง ยังช่วยงานของสำนักปู่สวรรค์ในโลกวิญญาณต่อไป

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อัจฉรา เนื้อนวล รวบรวม จากหนังสือ พระอนาคตวงศ์ พระเจ้า ๑๐ พระองค์ในอนาคต 

Contribute!
Books!
Shop!