หลวงปู่ทวด-ความสามัคคี
- Details
- Category: โอวาทหลวงปู่
- Published on Saturday, 20 July 2024 14:06
- Written by Super User
- Hits: 82
ความสามัคคี
เจริญพร
วันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่องค์สมณโคดมได้ประกาศให้มี พระอรหันต์พระโพธิสัตว์ พระอนาคามีขึ้นในโลกมนุษย์เป็นวันที่อาตมภาพได้รับการสถาปนาแต่งตั้งจากพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงอโยธยา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ แห่งแผ่นดินอโยธยา และในวันนี้ซึ่งเป็นวันแห่งพิธีอุดมฤกษ์ ที่โลกมนุษย์ได้สร้างวัตถุถาวรของสำนักปู่สวรรค์เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ในการที่จะโปรดสัตว์นั้นถ้ามนุษย์ยังไม่มีจิตเข้าถึงธรรม มนุษย์นั้นก็ย่อมที่จะติดในด้านวัตถุ คือ ในด้านสถานที่ แห่งความโออ่ารโหฐานบัดนี้การตั้งสำนักในโลกมนุษย์ก็ได้ลุล่วงมาเป็นส่วนมากเพื่อเราจะได้โปรดสัตว์ในหมู่มนุษย์โลก ให้มนุษย์มีจิตใจในด้านความเป็นคนดีมีกิเลสน้อยนั้น จะทำอย่างไร
จุดแรกแห่งความเสื่อมในโลกมนุษย์นี้เกิดจากมนุษย์ไม่มี “สามัคคีธรรม” เพราะเหตุใดเล่า อาตมาจึงเทศน์ดังนี้ดังเช่นในวิถีการศาสนาก็ดี มีการแบ่งสมมุติสงฆ์ เป็นค่ายเป็นเหล่า เป็นคณะ เป็นหมู่ การแบ่งเหล่า การแบ่งหมู่ การแบ่งคณะนั้นเป็นสภาพการณ์ของการไม่ได้ปลูก ความกลมเกลียวในหมู่ชนแห่งมนุษย์ในโลก จึงเกิดความยุ่งเหยิงขึ้น เพราะฉะนั้น เราเป็น “สำนักนักธรรมแห่งโลกวิญญาณ”เราจะทำอย่างไรจะทำให้ความสามัคคีแห่งความสงบแห่งความสันติถึงจุดแห่งความสำเร็จในโลกมนุษย์ ถ้าในหมู่คณะใดคณะหนึ่งก็ตามแม้แต่ประเทศชาติที่ตั้งคณะทำงานเพื่อส่วนรวมก็ดีเพื่อส่วนตัวก็ดี ถ้ามนุษย์ผู้ใดในหมู่มนุษย์เหล่านั้นไม่มีความยึดมั่นในความสามัคคีของหมู่คณะแล้วไซร้ กิจการในการบริหารของประเทศก็ดีของสงฆ์ก็ดีของสำนักก็ดี ย่อมไม่มีความสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของอุดมการณ์ ในสภาพการณ์นี้แหละจะทำอย่างไร จึงจะให้เหล่ามนุษย์มีความสามัคคีดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิเห็นชอบเพราะว่า เหล่ามนุษย์นั้นมีตัว “เจ้าโลภะ” เข้าครอบงำบางคนมี “เจ้าโทสะ” เข้าครอบงำ เมื่อมนุษย์ผู้ใดมีตัว “เจ้าโทสะและเจ้าโลภะ” มาพบกันในกายมนุษย์แล้ว มนุษย์ผู้นั้นย่อมไม่รู้จักความอิ่ม และความพอในตัวตน เมื่อไม่มีความอิ่มความพอในตัวตนก็ย่อมมีความหิวโหยเกิดขึ้น ดั่งเหล่าผีเปรตทั้งหลาย
ทีนี้จะทำอย่างไรจึงจะทำให้มนุษย์รู้ตน และเข้าใจตนคือ ต้องให้มนุษย์หยุดและพิจารณาตน สภาพการณ์แห่งการพิจารณาตนนั้นก็ใช้หลัก “ความเป็นอริยะ” ซึ่งประกอบด้วยศีลและมรรค ๘ เป็นเบื้องต้น ในการพิจารณาตนจะต้องมี “สติสัมปชัญญะ” ให้พร้อมควบคุมตนให้สงบ เพราะเหตุใดองค์สมณโคดมจึงวางหลักแห่งการปฏิบัติฌานก็ดี ปฏิบัติฌานดี ว่าจะต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐานก่อน จึงขึ้นไปสู่วิปัสสนา แต่ทุกวันนี้มนุษย์โลกถูกวัตถุนิยมปกปิดและการยกยอปอปั้นของมนุษย์ด้วยกันที่ยกตนจนเลิศลอย ดังเช่นสมมุติสงฆ์ บางคนเป็นสมมุติสงฆ์แต่ผ้าเหลือง จิตใจนั้นไม่ได้เป็นสงฆ์เลย เพราะเขาไม่ได้อบรมจิตมนุษย์ย่อมไม่มีความสงบและการครองผ้ากาสวาพัสตร์ก็ย่อมร้อน ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้ความสันติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ได้ ก็ต้องใช้หลักธรรมทั้งหลายตีเข้าไปในหมู่ชนเพียงกลุ่มน้อยที่กุมบังเหียนโลก เมื่อมนุษย์ที่กุมบังเหียนโลก รู้จักตน รู้จักพอ เขาก็ย่อมไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่โลก
ทุกวันนี้ “กฎแห่งกรรมในธรรมชาติ” ถูกมนุษย์เปลี่ยนแปลงโดยการสร้างวัตถุ โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร การสนองของวัฏฏะเป็นการสนองกรรมของกรรมเทียมก็เพราะว่ามนุษย์ทั้งหลาย “ไม่รู้ซึ้ง” ในหลักแห่งความเป็นจริงของความเป็นคนนั่นเอง
นโยบายและอุดมการณ์ของโลกวิญญาณ ที่จะให้ทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จก็ต้องการให้เหล่ามนุษย์ที่จะเข้ามาเป็นลูกมือได้เข้ามาฝึกจิตของตนให้มีพลังอันแน่วแน่ เพื่อที่จะร่วมกันโปรดสัตว์ต่อไป เจริญพร