E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

หลวงปู่ทวด-การทำบุญ

A-loungpoo

การทำบุญ

เจริญพร

สานุศิษย์ทั้งหลาย คืนนี้เป็นวันพระ อาตมาจะเทศน์เรื่องการทำบุญ

อะไรเรียกว่า บุญอะไรเรียกว่า การทำบุญและเมื่อทำบุญแล้ว จะได้อะไรจากการทำบุญ จะเห็นได้ว่า การสร้างปูชนียสถานก็ดี การสร้างสำนักก็ดี การหล่อพระก็ดีการทำบุญในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี โลกมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ส่วนมากทำบุญเพื่อหวังที่จะได้ชื่อเสียง ได้ลาภ ได้เกียรติยศ เราเป็นพุทธสาวก เป็นพุทธบริษัท การทำบุญที่ดีที่สุดคือเราช่วยเหลือเขาในสิ่งที่เขาเริ่มทำ โดยเราช่วยเหลือเขาโดยพิจารณาด้วยสามัญสำนึกของการเป็นมนุษย์ปุถุชนว่า สิ่งนี้เราควรจะช่วยหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุคคล เป็นปูชนียสถาน หรือเป็นสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และระหว่างเราทำบุญนั้น เราไม่ต้องคิดอะไร จงอธิฐานในการทำบุญนั้นว่าสิ่งนี้ข้าฯ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ขอให้ข้าฯ พ้นทุกข์ ขอให้การกระทำของข้าฯ สนองข้าฯ ในชาตินี้หรือชาติหน้าเถิด การทำบุญ เราไม่จำเป็นจะต้องทำด้วยการหวังผลในปัจจุบันหรืออนาคตกาล ส่วนมากสังคมปัจจุบันนี้

มนุษย์ใจบาป มันมีมาก

นักบุญใจบาป มันมีแยะ

เพราะฉะนั้นการที่จะชักชวนให้บุคคลทำบุญที่สำนักนี้จงบอกกับเขาว่า ทำบุญที่สำนักนี้ ถ้าจะหวังชื่อเสียงก็ไม่ต้องมาทำ เพราะสำนักนี้ให้ทำบุญ และให้ดูผลของการทำงานของสำนักนี้ ซึ่งการปฏิบัติงานของสำนักเราจะไม่โจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และใครโจมตีเรา เราจะไม่สู้ แต่เรารับว่า ผู้สำเร็จทำงานไม่ต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ไม่ยินดียินร้ายต่อการกระทำที่ทำลงไป ที่อาตมาพูดไปคืนนี้ถ้าอีก ๒ วัน มีใครมาถาม อาตมาจะบอกว่าจำไม่ได้ เพราะผู้สำเร็จก่อนจะพูดได้วินิจฉัยด้วยฌานแล้วว่า สิ่งไหนที่ควรพูดสิ่งไหนไม่ควรพูด เมื่อพูดออกไปแล้ว ไม่มีอารมณ์ติดในสิ่งนั้นการเจริญวิปัสสนานั้น เมื่อยังติดอารมณ์อยู่ ย่อมจะหาทางหลุดพ้นไม่ได้ เมื่อจิตสงบ จงทิ้งอารมณ์นั้นปล่อยให้ไปตามสภาวะของธรรมชาติธาตุทั้งสี่ก็จะเสมอกัน เมื่อธาตุทั้งสี่เสมอกัน เรียกว่าทวารทั้งห้าของเราปิดเสี่ยสี่ เหลือหนึ่ง คือ ลมหายใจ และเมื่อจิตนั้นนิ่งสงบเป็นประภัสสรนิมิตย่อมเกิดขึ้นและเมื่อเกิดนิมิตนั้นได้หรือไม่ และการทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมักจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย แต่ส่วนมาก สังคมปัจจุบันของมนุษย์ล้วนแต่จะดูไปก่อนว่า สิ่งนั้นเขาทำไป ในรูปอย่างไร เมื่อเขาทำลงไปแล้วมันอยู่ได้ เขาก็จะไป ผสมโรงกันเป็นส่วนมาก แต่ระหว่างที่จะก่อตั้งมานั้นรู้สึกว่าผู้ที่จะร่วมมือน้อยเต็มที นี่คือสัญชาตญาณของมนุษย์ปัจจุบัน การทำอะไรก็แล้วแต่ เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อนนั่นแหละ มันจะพาไปสู่ทางหายนะ เมื่อเราเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้วจะทำสิ่งนั้นไปได้โดยสะดวก อาตมาได้เทศน์ว้าแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่สำเร็จ

ทุกอย่าง มีกาลเวลาแห่งการสำเร็จของผลงาน แต่ไม่ใช่นั่งอยู่ในบ้านเฉย ๆ แล้วก็รอให้ทุกอย่างสำเร็จ ๆ อย่างเช่น พวกบ้าหวังลาภ ยศ ขอให้มีเงินทองไหลมาเทมา แต่ไม่ทำงานเลย มันจะเกิดผลขึ้นได้อย่างไร เพราะทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุแล้วจึงจะเกิดผล ผลนั้นเกิดจากเหตุเราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงจะรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา พุทธศาสนานั้นสอนให้เราอยู่ในหลักกฎแห่งกรรม คือ ใครทำดี ดีสนอง หมั่นสร้างกุศล ท่านจะดีแล เพราะอะไรเล่าทำดีจึงสนอง ผลแห่งการกระทำที่ทำลงไป มนุษย์ไม่รู้ แต่เทวดาย่อมรู้ เราทำด้วยจิตที่เรียกว่า จิตสงบ ทำโดยถือว่าสิ่งนี้เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องทำ ผลของการกระทำนั้น คือ ถ้าทำดี เราก็ได้ผลดี ถ้าทำชั่ว เราก็ได้ผลชั่ว เรียกว่าหว่านพืชหวังผล เมล็ดพันธุ์ชนิดใดย่อมเกิดผลชนิดนั้น เช่น สมมุติง่าย ๆ ว่า เราได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานจนได้กรรมฐานหนึ่งก็ดี กรรมฐานสองก็ดี หรือฌานหนึ่ง ฌานสองก็ดี เมื่อเราได้กรรมฐาน ได้อารมณ์ ได้นิมิต เราจะใช้อารมณ์นั้นไป ในทางที่ดี ผลแห่งการกระทำของเราก็ย่อมดี ถ้าไม่เชื่อก็จะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นการทำบุญในใจ ด้วยการสวดมนต์ แผ่เมตตา บทสวดมนต์ของสำนักนี้ได้พิมพ์เรียบร้อยแล้ว

ก่อนนอนก็ดี ตื่นเช้าก็ดี เรานั่งสมาธิสวดมนต์แผ่เมตตาถึงพรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด เราท่องอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกวัน ๆ แล้วจงดูซิว่า การติดต่อการงานของเรามันจะเป็นอย่างไร รับรองว่าไปไหนคนจะเกลียดน้อยนี่แหละคือ เสน่ห์ ผลนี้เกิดจากอะไรเล่า อาตมาบอกได้ว่า วิญญาณมนุษย์นั้นละเอียดยิ่งกว่าอณูปรมาณู วิญญาณมนุษย์เสมือนหนึ่งน้ำ ซึ่งเป็นของเหลวที่เราจะจับขึ้นมาไม่ได้ แต่เราเห็นเป็นน้ำ เมื่อเราตั้งจิตดี จะเกิดดวงวิญญาณจิต ถ้าไฟในดวงวิญญาณจิตของเราบริสุทธิ์จะสามารถต่อดวงไฟในจิตทุก ๆ ดวงได้ จิตเราตั้งมั่นแผ่กุศลทุก ๆ ดวง ทุก ๆ รูป ทุก ๆ นาม ผลแห่งการตั้งจิตแน่วแน่ที่เรียกว่าปณิธาน หรือการตั้งจิตแผ่เมตตา เมื่อจิตเรามีเตตาบริสุทธิ์มอบของดีให้เขา เหมือนหนึ่งสมมุตง่าย ๆ เช่น เราให้ของเขากิน คนที่ย่อมคิดถึงเราว่า อ้อ คนนี้เป็นคนดี คนนี้เขาให้เรากิน คนนี้รู้ว่าเราไม่มีจะกินนั่นแหละ ผลก็คือจิตของเขาระลึกถึงบุญของเราไว้ และเขาจะหากาลเวลาตอบแทนเรา ถ้ามนุษย์ที่ไม่รู้บุญคุณของผู้อื่นมนุษย์ผู้นั้นทำการงานย่อมไม่ขึ้น เขาเรียกว่าอกตัญญูอกตเวที

ทีนี้ทำไมเมื่อเราแผ่เมตตาให้ทุกรูปทุกนามแล้ว เราไปติดต่องานต่าง ๆ ย่อมสะดวก เพราะอะไรเล่า เพราะว่ากายในรับทราบ จิตเราบริสุทธิ์ต่อผู้อื่น ผลสะท้อนของดวงจิตประสานกันได้ เรียกว่า กายในรับทราบ ทีนี้เมื่อเราได้กรรมฐานแล้ว ถ้าเราจะใช้กรรมฐานนั้นไปในทางที่ชั่ว เช่นบีบรัดเขาก็ดี เห็นผู้หญิงคนนี้สวย คิดจะเอามาเป็นเมียก็ดี ใช้หลักกรรมฐานบังคับจิตก็ดี ผลที่ฝึกมาก็ย่อมเสื่อมแต่ถ้าเสื่อมแล้ว เราก็อย่าถืออัตตาทิฐิ แม้ถืออัตตาทิฐิมันก็ต้องตายไปทั้งนั้น เพราะอะไรเล่าพุทธองค์ได้สอนให้มนุษย์ไว้ว่า ผลแห่งการกระทำนั้น จะสนองต่อเรา เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยากจะให้ทุกคนที่ได้ฟังคำเทศน์ของอาตมาแล้ว อย่าลงความเห็นเชื่อ ณ บัดนี้ เพราะว่าต้องการจะให้ไปใช้ สัญชาตญาณตัวเองคิดเสียบ้าง

พระพุทธองค์ได้เคยเทศน์ให้แก่พระอนุรุทธะว่า

อนุรุทธะ สิ่งที่ตถาคตกล่าวไปนี้ เจ้าเชื่อหรือไม่

พระอนุรุทธะตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์สอนมานั้น ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เชื่อ พระเจ้าข้า

องค์สมณโคดมซึ่งเป็นผู้สำเร็จ ได้ตรัสว่า อนุรุทธะ เจ้าได้ปัญญาแล้วเพราะอะไรเล่า

การเทศน์ของอาตมาก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่อาตมาเห็นในรอบจักรวาลนี้มีมาก ซึ่งพวกเจ้านั้นอาจจะไม่ได้เห็นไม่ได้พบสิ่งเหล่านั้น ตถาคตเทศน์สิ่งเหล่านั้นให้พัง เจ้าก็ยังไม่ได้เห็นไม่ได้พบ ขอให้เจ้าจงอย่าได้เชื่อ จนกว่าได้เห็นได้พบสิ่งนั้นจึงค่อยลงความเห็นเชื่อลงไป นั่นแหละ คือผู้ที่ปฏิบัติทางญาณที่แท้จริง ถ้าเป็นพวกเราพูดอย่างนั้นอย่างนี้ อีกคนหนึ่งจะว่าอย่างไร จริงหรือไม่ ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็จะพูดว่าโอ๊ย ไม่เชื่อไม่จริงมันก็ต้องลงไปเตะปากกัน แต่ผู้สำเร็จเขาไม่ยอมไม่ทำอย่างนั้น

ศาสนาใด ๆ ก็ดี ล้วนแต่เดินไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งความสำเร็จ คือ ความสุขยอดของความทุกข์ คือ ความสุขพุทธศาสนาไม่บังคับ เพราะองค์สมณโคดม เล็งเห็นการณ์ไกล ซึ่งไม่เหมือนศาสดาองค์อื่น ๆ ซึ่งใช้กฎบังคับนั่นเป็นเพียงแต่เทวะมาเกิดหาใช่มาปรับปรุงสังคมมนุษย์ไม่ ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ศึกษาธรรมะ ธรรมะที่แท้จริง คือ ธรรมชาติ

ผู้ที่จะศึกษา ธรรมชาตินั้นจะต้องศึกษาธรรมมะไม่ต้องไปศึกษาพระไตรปิฎก ธรรมะอยู่ที่ขันธ์ห้าของเรา กายเรามีอะไรเป็นใหญ่เป็นประธาน ก็คือใจ กายเรามีอะไรเป็นเครื่องมือของใจ ก็มีสมอง กายเรามีอะไรเป็นเครื่องมือของสมอง ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น ซึ่งรัฐบาลในกายเรานี้มีครบทุกอย่าง เมื่อตาเราเห็น เรียกว่าจักขุวิญญาณกระทบรูป รูปเป็นสมมุตินาม ตาได้กระทบ ได้รายงานเข้าทางประสาท ประสาทได้ราบงานเข้าทางใจ ว่าได้พบเห็นสิ่งนี้ จะทำอย่างไรต่อ ใจก็สั่ง ถ้าผู้มีสมาธิก็สั่งด้วยฌาน ถ้าผู้ไม่มีสมาธิก็จะสั่งด้วยโมหะ โทสะ คือ อารมณ์แห่งความหลง ซึ่งจักขุวิญญาณนั้นรายงานมาทางประสาท ประสาทรายงานทางใจนั้นมันเร็วยิ่งกว่าอะไร ๆ เอาปรอทวัดไม่ได้หรอก ไม่ทันการรายงานของสังขารทั้งห้านี้

ทีนี้ ทุกอย่างอยู่ที่มันจะทำ ใจมันก็จะสั่ง สมมติว่าเราเห็นผู้หญิงคนหนึ่งสวย ประสาทนั้นได้เห็น ก็เข้ารายงานทางประสาทรวม คือสมอง และก็รายงานเข้าทางใจว่า บัดนี้ เห็นว่าสาวคนหนึ่งสวยมาก ทีนี้ ถ้าเราอยู่ในอารมณ์หลงคือ ปรุงแต่ง หรือถ้าใจเราไม่ปรุงแต่ง เราย่อมบอกว่าถึงสวยก็รับรู้ว่าสวยเท่านั้นเอง ทีนี้ มนุษย์ทุก ๆ คน ยิ่งหนุ่ม ๆ ด้วย มันชอบปรุงแต่งว่า คนนี้สวนดี มันน่าจะมาเป็นภรรยาของเรา ถ้ายิ่งปรุงแต่งใจว่าสวย เราก็ตามไป ใจก็สั่งขาซึ่งเป็นกระทรวงคมนาคมให้เดิน ที่นี้ใจเราวินิจฉัยว่า ผู้หญิงที่นุ่งกระโปรงนี้สวย แล้วเราก็ไปดูคนแก่ ว่าเมื่อเราแก่แล้วเป็นอย่างไร อาตมาได้เทศน์ไว้แล้วว่า คู่แท้ย่อมไม่คลาดแคล้วกันมันก็จะมีกาลเวลาแห่งการพบกัน ไม่ใช่เห็นสวย ๆ เราก็ตามยิก ๆ ไป พอตามไปถึงบางทีก็ถูกผู้หญิงด่า ก็ต้องหน้าแห้งเดินกลับไป

เพราะฉะนั้น การทำอะไรควรวินิจฉัย จะเป็นการทำมาหากินก็ดีการหาทรัพย์ก็ดี การกระทำทุกอย่างอยู่ที่ขันธ์ทั้งห้า เรามีกระทรวงอยู่ในกายเราอยู่แล้ว กระทรวงคมนาคมคือเท้าสองข้างของเรา ที่จะเดินไปหาอะไรก็ได้ กระทรวงพาณิชย์ หรือที่เรียกว่ากระทรวงการค้ามันก็อยู่ที่มือของเราปากของเรา กระทรวงประชาสัมพันธ์มีอยู่ที่ตา ที่หู เรียกว่ากระทรวงตากระทรวงหูของเรานี้ก็คอยรายงานทุกอย่างอยู่ในขันธ์ห้านี้ และทุกสิ่งทุกอย่างเราจะต้องถือว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตนนั่นคือหลักแห่งสัจจะธรรมของพุทธศาสนา เพราะอะไรเล่าอาตมาจึงว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราจะสมมติง่าย ๆ ว่า เราหิวข้าวนั้น ตัวเราหิวใช่ไหม คนอื่นจะรู้ว่าเราหิวหรือ ตัวเรารู้ว่า ตัวเราหิวข้าวเราก็ต้องขวนขวายหามากินเอาเอง ถ้าเราไปบอกคนอื่นว่าเราหิวข้าว บางทีอาจจะไปพบคนที่ไม่เคยหิว ไม่รู้จักคำว่าหิวข้าวเป็นอย่างไร เพราะว่า เขาเหล่านั้นเคยแต่อยู่ในความสุข เคยแต่อยู่ในกามคุณ ย่อมไม่รู้ชีวิตอันแท้จริงของการเป็นมนุษย์

อาตมาได้เทศน์มาคืนนี้ ก็มีเพียงเท่านี้เอง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

                                                                     เจริญพร

Contribute!
Books!
Shop!