E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

ประวัติพระราชญาณดิลก

พระราชญาณดิลก

ประวัติ พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า

พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรในบริเวณหมู่บ้านเขาเต่าและมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าคุณพระราชญาณดิลกสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่

 

              พระราชญาณดิลกเกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๔๐ ที่หมู่บ้านทำเลไทย ต.บ้านขนอนหลวง อ.บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบิดามารดามีอาชีพทำนา เมื่อ ท่านอายุได้ ๕ ปี บิดาก็ส่งเข้าเรียนภาษาไทยแบบโบราณ ที่วัดทำเลไทย จนอายุได้ ๑๐ ปีบิดาได้ให้ไปเรียนที่โรงเรียน วัดทองบ่อ อายุ ๑๓ ปี ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ วัดนิเวศธรรมประวัติจนจบชั้นประถมปีที่๔ จากนั้นได้บวช เป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระมหาสมณ เจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และ พระญาณวรากรณ์ คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง วชิรญาณวงศ์ เป็นพระสรณคมณาจารย์ ท่านเจ้าคุณได้ตั้ง

                          ใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เมื่อบวชเป็นสามเณร ได้ ๑ พรรษาก็สอบนักธรรมตรีได้ พรรษาที่ ๒ สอบบาลี ประโยค ๓ ปีต่อมาสอบบาลีประโยค ๔ ได้ที่วัดพระศรี รัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วนับว่าชีวิตในวัยเด็กของ ท่านเจ้าคุณเป็นวัยที่เริ่มต้นที่ดีพร้อม คือ ความคิดดี ความประพฤติดี และการปฏิบัติตนที่ดีทำให้บิดา มารดา ญาติพี่น้องมีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่ออายุครบปีที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ เสด็จในกรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์ของเสด็จในกรม ได้ อุปสมบทเป็น พระภิกษุที่พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับฉายานามว่า "กนฺตสีโล" มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม พระ ธรรมาโรดมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๖๐ เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ๑ พรรษา ก็สอบบาลีประโยค ๕ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ใช้เวลาส่วนใหญ่สอนพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมแก พระภิกษุสามเณรด้วยผลงานของท่านเจ้าคุณฯ พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ ด้วยพระองค์เองให้เป็นที่ "พระภัทรมุขมุณี" เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในคณะสงฆ์ ๒ นิกายซึ่งมีการปกครองรวม ๗ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด นครนายก ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี

                ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ กรมการศาสนานิมนต์ท่าน ไปช่วยงานด้านศาสนาที่วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ ๙ เดือน ก็กลับมาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ตามเดิมรวมเวลาที่จำพรรษานานถึง ๒๐ปี ต่อมาทางคณะ สงฆ์เห็นสมควรที่จะส่งภิกษุจากส่วนกลาง ที่มีความรู้ทาง พิธีการสงฆ์และพิธีหลวง ตลอดจนมีความรู้ทางบาลีและ วินัยสงฆ์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่วัดพระมหาธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางศาสนาที่เก่าแก่ ของประเทศ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสอันมีท่านเจ้า คุณใหญ่พระรัตนมุณี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคุณอยู่ที่ วัดพระมหาธาตุนานถึง ๒๐ ปี ได้ทำประโยชน์ให้อย่างมาก

                            ต่อมาทางวัดเขาเต่าขาดเจ้าอาวาส เพราะเจ้าอาวาสเดิมได้มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่ พระราชวังไกลกังวล ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเป็นประจำ พระองค์ เสด็จไปที่หมู่บ้านเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหินทรงมีพระราช ดำริว่าวัดเขาเต่าขณะนั้นไม่มีเจ้าอาวาสที่จะเป็นหลักให้แก่ วัดและเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวบ้านไดจึงทรงพระราชปรารภ กับท่านเจ้าคุณธรรมปัญญาจารย์ เจ้าอาวาส วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

                       ซึ่งท่านเจ้าคุณได้ถวายพระพร ว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่เหมาะสมที่จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน เขาเต่าได้ ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ จึงโปรด เกล้าฯ ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาเต่าเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดที่ทรุดโทรมและได้อบรมพระธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณร ตลอดจนเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้านด้วย ทั้งยังเป็นพระภิกษุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้วาง พระราชหฤทัย และทรงโปรดที่จะมีพระราชปฏิสันถาร เกี่ยวกับข้อธรรมะ

                     ในโอกาสที่ทรงพบเพราะท่านเป็นนัก ศึกษาเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้อย่างกว้าง ขวางในพระธรรมวินัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ "พระราชญาณ ดิลก" เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาประทับ ที่หัวหิน ท่านเจ้าคุณยังเป็นที่พึ่งของบรรดาพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ ชาวบ้าน ตลอดจนทหารตำรวอาสาสมัคร ตลอดเวลาที่จำพรรษา อยู่ที่นครศรีธรรมราชก็ดี ที่ประจวบคีรีขันธ์ก็ดี ดินแดนใดที่ใคร ๆ พากันหวั่นเกรง อันตรายจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ท่านก็ไปไม่กลัว อันตรายทั้งสิ้นไปเยี่ยมทหารตำรวจชายแดนเสมอต่อมา เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มรณภาพ ทางคณะ สงฆ์ผู้ใหญ่ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบฯ

                      ท่านมีกระแสจิต คือจิตที่แน่วแน่ไม่มุ่งลาภ ยศ ไม่มุ่งผล อันเกิดแต่สิ่งนั้น เป็นจิตที่พร้อมด้วยความเมตตากรุณา จิตนี้ช่วยให้ขลัง ท่านได้สร้างพระผงเป็นดินเผาหลาย ชนิดด้วยกัน เช่น สมเด็จดำ สมเด็จแดง สามภพพ่าย ผ้ายันต์สี่เหล่า สมเด็จยอดกัญญานี และกริ่งขี่เต่า เหรียญรุ่นพัดยศ เป็นต้นเป็นสิ่งที่ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เสาะหากันมานาน นับได้ว่าท่านเจ้าคุณพระราชญาณดิลก ได้สร้าง สมคุณงามความดีมาถึง ๙๑ ปี ท่านได้มรณภาพเมื่อ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๐ ท่านได้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่พระศาสนาและประเทศชาติ ยอมสละประโยขน์ สุขส่วนตน เพื่อประโยขน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ชาวหมู่บ้านเขาเต่าก็ยังให้ ความเคารพนับถือไปตลอดกาล

ขอขอบคุณข้อมูล :

 http://phahuahin.blogspot.com/2010/03/blog-post_5590.html 

ภาพความทรงจำของพระราชญาณดิลกที่มีต่อสำนักปู่สวรรค์

 prarajyarn-02

ลงพลังจิตผ้ายันต์พิทักษ์เอกราช

 prarajyarn-03

นั่งปรกลงพลังจิตพระสมเด็จดินเก้าประเทศ

ร่วมคณะธรรมทูตสำนักปู่สวรรค์แจกผ้ายันต์พิทักษ์เอกราชให้ทหารตำรวจ- อาสาสมัคร เพื่อบำรุงขวัญให้มีกำลังใจในการรักษาผืนแผ่นดินไทยให้ลูกหลานได้มีความเป็นเอกราชไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นของใคร

 prarajyarn-04  prarajyarn-05
 prarajyarn-06  
Contribute!
Books!
Shop!