ความเมตตาที่ตราตรึง โดยอาจารย์ อุษา พลารชุน
- Details
- Category: บทความประวัติศาสตร์
- Published on Monday, 07 December 2020 05:58
- Written by Super User
- Hits: 1064
ความเมตตาที่ตราตรึง
โดยอาจารย์ อุษา พลารชุน สานุศิษย์อาวุโสยุคบุกเบิกสำนักปู่สวรรค์
ภาพถ่ายเก่าปากซอยเข้าสำนักปู่สวรรค์
สำนักปู่สวรรค์ย้ายจากตำบลบางปะกอก มาอยู่ที่ ๒๗ ชอยจตุรงค์สงคราม ถนนเพชรเกษม ก.ม. ๕ ครึ่ง เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๑๒ สภาพในชอยนี้ ตอนนั้นเปลี่ยวมากมีบ้านเพียง ๓ หลัง สองข้างทางเต็มไปด้วยพงดงหญ้า ดงไม้ ตั้งแต่ปากชอย ไฟฟ้าในชอยก็มีอยู่ห่างๆ แสงสลัวๆ มีข่าวการฉกชิงวิ่งราวจี้คน จี้แท็กซี่ในชอยนี้บ่อยๆ มีเรื่องที่ข้าพเจ้าได้ยินมาด้วยตนเอง เป็นการยืนยันได้ว่าแถวนี้ช่างเปลี่ยวและวังเวงจริงๆ
วันหนึ่งประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีจดหมายด่วนที่ต้องตรวจพิมพ์ให้เรียบร้อยแล้วนำ
ไปให้ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล ผู้เป็นประธานของสำนักปู่สวรรค์ลงนาม กว่าจดหมายจะเสร็จเรียบร้อยก็ ๓ ทุ่มเศษแล้ว เกรงว่าท่านจะเข้านอนเสียก่อน ข้าพเจ้าพร้อมด้วย วิษณุ ไพบูลย์ สามคนด้วยกัน รีบเดินออกไปข้ามถนนยืนรอแท็กซี่อยู่ฝั่งตรงข้าม แท็กซี่ก็แสนจะหายาก นานๆ
จะผ่านมาสักคัน แถมโบกมือเรียกก็ไม่ยอมหยุด เดชะบุญมีคันหนึ่งหยุดรับไพบูลย์บอกคนขับว่าไปวงเวียนใหญ่ (บ้าน ดร.คลุ้ม อยู่หลังโรงพยาบาลมิตรภาพ) พอขึ้นรถเรียบร้อยแล้ว คนขับรถบอกกับเราว่า "ถ้าไม่มีคุณผู้หญิงยืนอยู่ด้วย ผมไม่รับหรอก เพราะแถวนี้และในชอยถูกจี้กันบ่อยๆ"
การทำงานของสำนักตอนนั้น วันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไปหลวงปู่เสด็จมารักษผู้ป่วย เสด็จพ่อประทานอาบน้ำมนต์ และหลวงพ่อสมเด็จฯ เทศน์และตอบปัญหาธรรมะ วันศุกร์ประชุมกรรมการบนตำหนักใหญ่ เวลา ๑๙.๐๐ น, หลวงพ่อสมเด็จฯ
องค์อำนวยการเป็นประธาน
การมาสำนักของข้าพเจ้า นอกจากมาประชุมวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์มา
บริการประชาชนที่มารักษาโรคแล้ว วันธรรมดาหลังเลิกงานก็มักจะมาเสมอ เพื่อรับทราบเรื่องงานและเรื่องทั่วๆไป แทนอาจารย์บุญชื่น เพราะอาจารย์อยู่ไกลถึงสามเสน ส่วนข้าพเจ้าอยู่ตลาดพลูมาสำนักได้สะดวกกว่าวันใดข้าพเจ้ามาสำนักตอนเย็น อาจารย์สุชติ โกศลกิติวงศ์ เจ้าสำนักจะกรุณาบอกข้าพเจ้าให้รับประทานอาหารก่อนกลับเสมอ แล้วยังกรุณาให้ไพบูลย์ หรือยุทธพงษ์
ไปส่งที่ป้ายรถมล์เป็นประจำ ลูกศิษย์ที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ตอนนั้นมี ๓ คนคือ วิษณุ ยุทธพงษ์ และไพบูลย์
ภาพเก่า อ.สุชาติ โกศลกิติวงศ์ เจ้าสำนักปู่สวรรค์ เมื่อครั้งสำนักปู่สวรรค์เริ่มสร้าง
อีกวันหนึ่งข้าพเจ้ามาสำนักตามปกติ สามหนุ่มไปธุระข้างนอกยังไม่กลับมาจนค่ำ ถึงเวลาทุ่มเศษแล้วสามคนนั้นก็ยังมาไม่ถึง ในที่สุดอาจารย์บอกว่า "ผมไปส่งเองรอเดี๋ยว" ข้าพเจ้านั่งนิ่งไม่ทราบจะพูดอะไร ท่านหันหลังเดินขึ้นไปบนกุฏิครู่หนึ่ง เดินกลับลงมาในชุดกางเกงขาสั้นสีกรมท่า เสื้อยืดขาวคอกลม เก็บชายเสื้อไว้ในกางเกง (แต่งชุดนี้อยู่แล้ว) พร้อมด้วยไฟฉายดวงใหญ่และ
ไม้เท้าคู่มือ (เราเรียกกันล่นๆ ว่าดาบซามูไร) ท่านออกเดินนำหน้าฉายไฟ ข้าพเจ้าเดินตามไปห่างๆ ถึงปากชอยข้ามถนนเลี้ยวซ้ายไปที่ป้ายรถมล์ พอมีรถเมล์แล่นมา ท่านก็โบกไฟฉาย รถเมล์หยุด (ที่ป้ายไม่มีคนรอขึ้นรถเลยสักคนเดียว) ท่านส่องไฟฉายอยู่ตลอดเวลาจนข้าพเจ้าขึ้นรถเรียบร้อย เมื่อรถแล่นอกจากป้ายท่านก็ยังส่องไฟฉายตามหลังจนรถแล่นห่างออกไป ขอกราบขอบพระคุณอย่างยิ่งในความเมตตาของท่านในโอกาสนี้อีกครั้งหนึ่งท่านเป็นดุจ "รวงข้าวอันอุดม" มิได้ถือว่าเป็น "เจ้าสำนัก" หรือ "ผู้แทนเบื้องบน"ถ่อมตน เดินไปส่งสานุศิษย์ขึ้นรถเมล์บนทางสายเปลี่ยวข้อความที่กล่าวแล้วนั้นคือ "ความเมตตาที่ตราตรึง"
การถ่อมตน เป็นปณิธานข้อที่ ๔ ในปณิธาน ๘ ประการของพระโพธิสัตว์ กล่าวคือ
พระโพธิสัตว์ตั้งจิตอยู่ในสมถธรรรมอันสม่ำเสมอในปวงสัตว์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ถ่อมตนไว้
ไม่ลำพองโดยปราศจากความข้องขัดใดๆนี้แลชื่อว่า คุณธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการของพระโพธิสัตว์ ผู้ใดปฏิบัติได้ตามนี้ผู้นั้นก็จักได้เป็นพระโพธิสัตว์
คัดจากหนังสือ คนไทยผู้ทำงานใหญ่ยิ่งให้มนุษยโลก เกหลง พานิช และคณะรวบรวม จัดพิมพ์เมื่อ มีนาคม ๒๕๔๖ ในโอกาสครบรอบอายุ ๖๐ ปี ท่านทูตสันติภาพฯ