E-book สวรรค์รำลึก

สถิติเยี่ยมชมเว็บสวรรค์รำลึก

2041968
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
290
292
3331
2033777
582
23743
2041968

Your IP: 3.145.73.167
Server Time: 2025-01-02 12:50:44

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

46 ปี การวางศิลามงคลสร้าง “สันติเจดีย์”

สันติเจดีย์รำลึก ตุลาคม

เนื่องในโอกาสครบรอบ 46 ปี การวางศิลามงคลสร้าง สันติเจดีย์ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์สำคัญบนยอดเขาถ้ำพระ หุบผาสวรรค์ จังหวัดราชบุรี ขอนำท่านย้อนรำลึกถึงห้วงเวลาอันน่าจดจำนั้นอีกครั้ง

หบผาสวรรค02

เมืองศาสนา

เมื่อปี พ.ศ. 2513 สานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์ ได้ไปร่วมกันสร้างเมืองศาสนาขึ้นที่บริเวณเขาถ้ำพระ ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยเชื่อว่าภูเขาลูกนี้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาในประเทศไทย เนื่องด้วยพระโสณะมหาถระและพระอุตตระมหาเถระ คณะธรรมทูตซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้ทรงส่งออกไปเผยแพร่พุทธศาสนายังแหลมสุวรรณภูมิ ได้เคยมาพำนักที่ถ้ำสาลิกาในเขาถ้ำพระเมื่อปี พ ศ. 237 ก่อนที่จะไปประดิษฐานและเผยแพร่พุทธศาสนาที่บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งในปี พ.ศ.247 กรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเขาลูกนี้ไว้เป็นโบราณสถาน

หบผาสวรรค01

 

ปูชนียสถานอันสำคัญยิ่ง

การสร้างหุบผาสวรรค์เมืองศาสนานี้ นอกจากได้ดำเนินงานเพื่อสร้างภราดรภาพทางศาสนาให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังแล้ว ยังได้ทำการสร้างปูชนียวัถุและปูชนียสถานอันสำคัญต่าง ๆ ขึ้นไว้ด้วย เพื่อเป็นปัจจัยให้พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ปกป้องคุ้มครองผู้ซึ่งเข้ามาในเมืองศาสนา ตลอดทั้งชนเผ่าไทยทั่วประเทศและมนุษย์ทั้งโลก ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นในกลางกลียุคนี้ปูชนียวัตถุอันสำคัญที่สุดได้แก่พระเจดีย์บนยอดเขา โดยดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2517 และขนานนามว่า "สันติเจดีย์" ประกอบพิธีวางศิลามงคลในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2517 สมเด็พระอริยวงศาคตญาณ (วาสโน มหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงเป็นประธานพิธีเจิมแผ่นศิลามงคล ณ บริเวณหน้าพลับพลาพรหมรังษี ม.จ.ชุมปกะบุตร ชุมพล ประธานกรรมการอำนวยการสำนักปู่สวรรค์ในขณะนั้นทรงวางศิลามงคลบนยอดเขาตรงบริเวณที่มีลักษณะเป็นโหนก ณ จุดที่เชื่อว่าได้มีพระอรหันต์เสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ในอดีตกาล และ พล.ต.ปราการ ภูวนารถนุรักษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักปู่สวรรค์ในขณะนั้นเป็นประธานจัดงาน

หบผาสวรรค05

 

นิพพานเจดีย์

"สันติเจดีย์" เป็นพระเจดีย์ที่จำลองแบบมาจาก "นิพพานเจดีย์" บนสวรรค์ซึ่งในโลกมนุษย์เรียกชื่อว่า "จุฬามณีเจดีย์สถาน"ตำนานของนิพพานเจดีย์มีอยู่ว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ กรุงกุสินาราและได้มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว บรรดากษัตริย์และเจ้าแคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปซึ่งเสด็จไปในงานถวายพระเพลิงไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ในเมืองใดในที่สุดจึงได้มอบหมายให้โทณพราหมณ์ซึ่งเป็นพระราชครูของบรรดากษัตริย์และเจ้าแคว้นทั้งหลาย เป็นผู้พิจารณาแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น โทณพราหมณ์ได้ถือโอกาสอัญเชิญพระทาฒะธาตุขวาเบื้องบนหลบซ่อนไว้ที่มวยผมเพื่อหวังเป็นสมบัติของตน องค์อัมรินทร์จอมเทพทรงพิจารณาเห็นว่าพระทาฒะธาตุขวาเบื้องบนนี้มิควรที่จะประดิษฐานอยู่ที่มนุษยโลก จึงได้อัญเชิญจากมวยผมของโทณพราหมณ์ขึ้นไปประดิษฐานบนดาวดึงส์เทวโลก แล้วพระวิษณุกรรมเทพบุตรนิรมิตนิพพานเจดีย์ขึ้นเพื่อประดิษฐาน
พระทาฒะธาตุดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ได้อัญเชิญพระจุฬามณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้อัญเชิญไปไว้ก่อนแล้ว เมื่อครั้งเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ประดิษฐานไว้ด้วยกันในนิพพานเจดีย์นั้น

 

แบบสันติเจดีย์และการก่อสร้าง

หบผาสวรรค06 

คณะกรรมการจัดสร้าง ได้สร้างสันติเจดีย์โดยดัดแปลงแบบของนิพพานเจดีย์บางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิประเทศของยอดเขาถ้ำพระ แบบของสันติเจดีย์ที่ได้ดัดแปลงตามนัยดังกล่าวข้างต้น มีลักษณะเป็นพระเจดีย์ 10 ยอด ตั้งอยู่บนมุขหน้า 1 ยอดเป็นพระเจดีย์ขนาดกลางรูปทรงกลมแบบลังกา และตั้งอยู่
บนห้องโถงประดิษฐานพระพุทธรูปอีก 9 ยอดเป็นพระเจดีย์ทรงเหลี่ยมย่อมุมแบบพระเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย ยอดใหญ่ ยอดตั้งอยู่ตรงกลาง มียอดเล็กตั้งอยู่รอบยอดใหญ่ 4 มุม มุมละยอด และมียอดกลางตั้งอยู่รอบนอก 4 มุม มุมละยอด ความสูงจากพื้นพระเจดีย์ถึงยอดฉัตร 9 เมตร (สูงเท่ากับพระพุทธถวายเนตรนิรภัยทุกทิศ ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาทางด้านทิศตะวันตก และหันพระพักตร์มาสู่สันติเจดีย์) ระหว่างมุขหน้าและห้องโถงประดิษฐานพระพุทธรูปมีมุขกระสันอยู่ตรงกลางที่ผนังด้านนอก 3 ด้านของมุขทั้งสองและห้องโถง ประดับรูปภาพสัตว์หิมพานต์แกะสลักด้วยหินอ่อน ที่ฐานมีรูปพญาครุฑ หนุมาน และสิงห์แบกบัลลังก็ประดับอยู่ 3 ด้าน ทำนองเดียวกัน เว้นด้านหน้าเป็นประตูสำหรับเข้าห้องโถงประดิษฐานพระพุทธรูป ความหมายของพระเจดีย์ 10 ยอดได้แก่บารมี 10 ทัศ ของผู้ซึ่งจะบำเพ็ญตามแนวทางพระโพธิสัตว์

หบผาสวรรค16

 หม่อมเจ้าชุมปกะบุตร ชุมพล ทรงประกอบพิธีวางศิลามงคลสันติเจดีย์

หบผาสวรรค17 

การก่อสร้าง 

หลังจากที่ได้ประกอบพิธีวางศิลามงคลสันติเจดีย์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2517 แล้ว คณะกรรมการจัดสร้างก็ได้ดำเนินการสร้างสันติเจดีย์ต่อไป โดยมอบให้อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฎ เป็นผู้ออกแบบแปลนพร้อมทั้งทำหุ่นสันติเจดีย์ และร่วมกับคุณสวัสดี ศรีรัตโนภาส ทำการก่อสร้างสันติเจดีย์ตามแบบแปลนดังกล่าวนั้น
สิ้นระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปีเต็ม และเงินค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณหนึ่งล้านเก้าแสนบาท

 

การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

ในระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างสันติเจดีย์อยู่นั้น คณะกรรมการจัดสร้างก็ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากบุคคลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

หบผาสวรรค08 

1. พระอมฤตนันทะ ประธานคณะสงฆ์แห่งประเทศเนปาล ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสัญฐาน
กลมคล้ายเมล็ดพันธุ์ผักกาด จำนวน 5 องค์ จากประเทศเนปาลมามอบให้ ณ สำนักปู่สวรรค์เมื่อวันที่
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519

 หบผาสวรรค09

 

หบผาสวรรค07

2. คณะธรรมทูตซึ่ง ท่านทูตสันติภาพ อาจารย์สุชาติ โกศลกิติวงศ์ เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยพระเทพโสภณ ศจ.ดร.คลุ้ม วัชโรบล และ พ.ต.ท.บำรุง กาญจนวัฒน์ (ยศในขณะนั้น) ได้เดินทางไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสัณฐานกลมคล้ายเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 2 องค์ จากประธานคณะสงฆ์แห่งศรีลังกา
นิกายสยามวงศ์ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 4 ถึง 8 กันยายน พ.ศ. 2519

 

3. พุทธศาสนิกชนทั่วราชอาณาจักรไทยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนใหญ่มีลักษณะยาวคล้าย
เมล็ดข้าวสาร ไปให้ที่สำนักปู่สวรรค์และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาเป็นจำนวนมาก

 หบผาสวรรค10

พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศไทย เนปาล ศรีลังกาพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพุทธศาสนิกชนรวม 3 ประเทศดังกล่าวข้างต้นนั้น คณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์ได้อัญเชิญบางองค์ขึ้นประดิษฐานไว้บน
โต๊ะหมู่บูชาตำหนักใหญ่ชั้นบนสำนักปู่สวรรค์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สรงน้ำและสักการะบูชา ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2519 จึงได้พร้อมกันอัญเชิญ
ขึ้นบนหุ่นสันติเจดีย์ที่สร้างไว้เป็นแบบ เดินทางโดยรถยนต์ไปประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา ทั้งนี้ได้แวะที่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม และที่หน้าที่ทำการเทศบาลเมืองราชบุรึ
ให้พุทธศาสนิกชนใน 2 จังหวัดได้สรงน้ำและสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุอีกวาระหนึ่งด้วย

 

ที่ประดิษฐานพระบมสารีริกธาตุดังกล่าว พระภิกษุสามเณรในอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา
ได้ร่วมกันสร้างอาคารชั่วคราว เป็นรูปปราสาททำด้วยไม้ไผ่มุงแฝก ตั้งอยู่เชิงเขาถ้ำพระตรงข้าม
พลับพลาพรหมรังษี ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตอนบ่ายหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเรียบร้อยแล้ว และพุทธศาสนิกชนกำลังสักการะบูชากันอยู่แน่นขนัดนั้น ปรากฎว่าได้มีฟ้าผ่าลงมาที่ปราสาทและหลอดไฟในนั้นได้ดับลงแต่ตัวปราสาท พระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนในนั้นและตามบริเวณใกล้เคียงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด เป็นที่อัศจรรย์แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายซึ่งชุมนุมอยู่ในอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในวันนั้น

 

พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

หบผาสวรรค18

หบผาสวรรค19

หบผาสวรรค20

หบผาสวรรค21 

คณะกรรมการหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาและคณะกรรมการจัดสร้างสันติเจดีย์ ได้เปิดให้สาธุชนได้สรงน้ำสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ.2519 จึงได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 การจัดงานพิธีนี้ ได้เลียนแบบพิธีของมัลละกษัตริย์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุในสมัยพุทธกาล แต่ให้เหตุการณ์กลับกันคือ ครั้งนี้คณะทูตานุทูตและผู้แทนของ
9 ประเทศ (ไทย บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย เนปาล ศรีลังกา สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา เป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสโน มหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม องค์ประธานในพิธีเพื่ออัญเชิญขึ้นบรรจุ ณ สันติเจดีย์ ทั้งนี้ พล.อ.อ. ทวี
จุละทรัพย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการเปิดงาน และ พล.ต.ต. พิบูลย์ ภาษวัธน์ ประธานกรรมการบริหารสำนักปู่สวรรค์ในขณะนั้นเป็นประธานจัดงาน สถานที่พิธีได้แก่บริเวณพลับพลาพรหมรังสีและเชิงเขาถ้ำพระ คำอธิษฐานที่ศาสนิกชนทั้หลายซึ่งไปร่วมในงานพิธีวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2519 ได้กล่าวร่วมกันมีรวม 10 ข้อดังนี้

 

1. ขอให้ความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่มนุษย์ จงบังเกิดขึ้นทั่วพิภพในโลก 

2. ขอให้สันติเจดีย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม ให้ตั้งมั่นอยู่แต่ในศีลธรรมและมนุษยธรรมอย่างมั่นคง 

3. ขอให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของไทย จงยืนยงเจริญอยู่คู่ฟ้า 

4.ขอให้โลกมนุษย์จงร่มเย็น และมวลมนุษย์ทั้งโลกอยู่เย็นเป็นสุข 

5.ขอให้ประเทศไทยจงอยู่รอดปลอดจากภัยพิบัติทั้งปวง 

6.ขอให้ศาสนาทุกศาสนาจงยืนยงอยู่คู่โลก 

7. ขอให้ธรรมจงนำโลก 

8.ขอให้สันติภาพอันถาวรจงเกิดขึ้นโดยเร็วในโลกมนุษย์ 

9. ขอให้สันติเจดีย์จงศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่แผ่นดินไทย 

10, ขอให้คำอธิษฐานนี้สัมฤทธิผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

จากคำอธิษฐาน 9 ข้อในวันงานพิธีเจิมและวางศิลามงคลสันติเจดีย์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2517 และ 10 ข้อในวันงานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พึงนับได้
ว่าสันติเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพซึ่งจะนำสันติสุขมาสู่ชนเผ่าไทยและมนุษย์ทั้งโลกต่อไป

 

อนึ่งในวันพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวข้างต้นนั้น สานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์และอาณาจักร
หุบผาสวรรค์เมืองศาสนาได้ทราบจากท่านผู้มีฌานญาณ ว่านอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญตามพิธี
ต่อหน้าศาสนิกชนทั้งหลายแล้วในวันนั้น ยังมีพระบรมสารีริกธาตุจากที่อื่นเสด็จสู่สันติเจดีย์ รวมทั้ง
พระอรหันตธาตุอีกมาก จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4 หมื่นองค์ สันติเจดีย์จึงเป็นปูชนียสถานที่มีพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุมากที่สุดในโลก เมื่อเสร็จพิธีตามกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นแล้ว พุ่มเงินพุ่มทองและธูปเทียนแพที่ใช้ในการพิธีให้คณะทูตานุทูตและผู้แทนของ 9 ประเทศ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปถวายสมเด็จพระสังฆราช องค์ประธานในพิธีวันนั้น คณะกรรมการได้นำไปประดิษฐานไว้ในปราสาทรอบ
หุ่นสันติเจดีย์ 3 ด้านเรียงตามลำดับประเทศทั้งเก้า โดยมีธงชาติของแต่ละประเทศแสดงไว้เป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจำนวนหนึ่ง มาประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชาข้างหน้าหุ่นสันติเจดีย์เพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลายซึ่งไปเยือนอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาทำการสรงน้ำสักการะบูชาตามความศรัทธาเลื่อมใสต่อ ๆ ไปด้วย

หบผาสวรรค04 

พระพุทธรูป 

ก่อนหน้าวันประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ คณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตัก 2 ศอก ขึ้นประดิษฐานไว้บนชุกซีในห้องโถงชั้นล่างของสันติเจดีย์ไว้ด้วย โดยได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธปฏิมากรมหามุนี
ศรีหุบผาสวรรค์" เป็นพระพุทธรูปที่ถูกต้องตามพุทธลักษณะและสวยงามมาก

 

พระคาถาบูชาสันติเจดีย์ 

สานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาได้รับพระคาถาให้บูชาสันติเจดีย์
จากท่านบรมครูดังนี้

 

สันติเจดีย์ วันทามิ เจติยะ สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิติ

 

สารีริกะธาตุ มะหาโพธิ พุทธะรูปะ สากะลิสะทา

 

สาธุ สาธุ สาธุ

 

ขอให้ข้าพเจ้าประสบสันติสุข และขอให้มนุษย์ทั้งโลกอยู่อย่างสันติด้วยเถิด

 

เหรียญสันติเจดีย์

 

นอกจากงานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แล้ว
คณะกรรมการฯได้จัดให้มีหรสพสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ มีกำหนดเวลา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 ถึง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเหรียญสันติเจดีย์ ตลอดระยะเวลา 10 วันด้วย โดยจัดพิธีทั้งที่พลับพลาพรหมรังสีและที่สันติเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานอันสำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์
พุทธศาสนาในโลกนี้ สำหรับเหรียญสันติเจดีย์ ได้สร้างไว้มีลักษณะขนาดกว้าง 1.6 ซม. สูง 2.5 ซม.ด้านหน้าเป็นรูปสันติเจดีย์ ด้านหลังข้อความ "สันติเจดีย์ อาณาจักรหุบผาสวรรค์ ตุลาคม 2519" มีรวม 5 ชนิดด้วยกันคือ
 1. เหรียญทองคำ จำนวน 280 เหรียญ 

2. เหรียญเงิน จำนวน 2,800 เหรียญ 

3.เหรียญนิเกิ้ล จำนวน 28,000 เหรียญ 

4. เหรียญทองแดง จำนวน 28,000 เหรียญ 

5. เหรียญบรอนซ์ จำนวน 28,000 เหรียญ 

หอระฆังสันติเจดีย์ 

ตามประเพณีทางพุทธศาสนาของคนไทย เมื่อมีการสร้างปูชนียสถานสำคัญขึ้นแล้ว ก็สร้างหอระฆังไว้
ในบริเวณใกล้เคียงกัน สำหรับให้พุทธศาสนิกชนตีระฆัง เพื่อเป็นสัญญาณแห่งการบำเพ็ญกุศล ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ ฉะนั้นคณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์จึงได้ทำการ สร้างหอระฆังขึ้นไว้ทางด้านหลังของสันติเจดีย์ห่างกันประมาณ 20 เมตร ลักษณะพิเศษตามแบบที่คณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์ได้รับจากท่านบรมครู ซึ่งไม่เหมือน กับหอระฆังอื่นใดในโลกนี้ ขนานนามว่า "หอระฆังสันติเจดีย์" โดยคณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์ได้มอบหมายให้คุณสวัสดี ศรีรัตโนภาสเป็นผู้ก่อสร้างเมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2519 สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ
80,000 บาท ซึ่งคุณสวัสดี ศรีรัตโนภาส ได้บริจาคเงินจัดหาระฆังที่หล่อสำเร็จรูปแล้วมาติดตั้งไว้ด้วย

 

บูชาพระบรมสารีริกธาตุ 

งานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ได้ผ่านพ้นไปด้วยความสำเร็จตามเป้าหมาย ยังความ
ชื่นชมโสมนัสแก่บรรดาสานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป จนกระทั่งวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2520 จึงได้มีการปฏิบัติบูชาและอธิษฐานบูชา ณ
สันติเจดีย์ขึ้น เพื่อให้สานุศิษย์และบรรดาศาสนิกชนทั้งหลายร่วมกันไปบำเพ็ญกุศล ณ สันติเจดีย์
ในคืนวันที่ 19 ของทุกๆเดือนตลอดไป ด้วยการพึ่งปาฐกถาธรรม ของ ท่านทูตสันติภาพ
อาจารย์สุชาติ โกศลติวงศ์ การทอดผ้าป่า การสวดมนต์อธิษฐานบูชา (ให้แต่ละบุคคลประสบสันติสุขและมนุษย์ทั่วโลกอยู่อย่างสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอให้ผลร้ายที่จะเกิดแก่ประเทศไทยจงกลายเป็นผลดี ต่อจากนั้นเป็นการปฏิบัติบูชาด้วยการนั่งสมาธิ ตามบริเวณสถานที่ต่าง ๆ บนยอดเขา ฝ่ายหญิงที่ลานไทรงาม ฝ่ายชายที่ลานพระพิฆเนศวร เพื่อฝึกในเรื่องเนกขัมบารมีให้เกิดพลังเข้มแข็งทั้งกายและใจ

 

ฉัพพรรณรังสี

 

พระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์อันเทพพรหมปกป้องรักษาเป็นอย่างดีตลอดมานั้น ได้แสดงอภินิหารประจักษ์แก่สายตาของสานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์และอาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาตลอดทั้งสาธุชนทั้งหลาย ซึ่งขึ้นไปสักการะบูชา ณ สันติเจดีย์โดยเปล่งฉัพพรรณรังสีหลายครั้ง แต่ที่ผู้เห็นกันเป็นจำนวนมากนั้นมี 2 ครั้งดังนี้

หบผาสวรรค11 

ครั้งที่ 1 เมื่อคืนวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2520 อันเป็นวันครบรอบครึ่งปีนับตั้งแต่พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พศ. 2519 รังสีที่เปล่งออกมานั้นสว่างทั่วองค์สันติเจดีย์

 หบผาสวรรค12

ครั้งที่ 2 เมื่อคืวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520 อันเป็นวันครบรอบปีของพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ณ สันติเจดีย์ แต่ในครั้งนี้รังสีที่เปล่งสว่างเพียงบางส่วนของด้านบนองค์สันติเจดีย์

 

ทั้งนี้ ๆพณฯ ทูตสันติภาพ อาจารย์สุชาติ โกศลติวงศ์ ได้แจ้งให้ผู้ขึ้นไปปฏิบัติบูชาและอธิษฐานบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์ในคืนทั้งสอง ทราบทั่วกันล่วงหน้าระหว่างที่ท่านแสดงปาฐกถาธรรม จึงเป็นเหตุการณ์อันอัศจรรย์แก่ผู้ซึ่งได้เห็นพระบรมสารีริกธาตุเปล่งฉัพพรรณรังสีดั่งกล่าวข้างต้น มากน้อยแล้วแต่กุศลของแต่ละบุคคลที่ได้สะสมมาประกอบการอธิษฐานจิตในขณะนั้นด้วย

หบผาสวรรค14 

ปราสาทถาวร 

หลังจากที่ได้ปิดทององค์สันติเจดีย์ แม้แต่เพียงตอนบนคือจากยอดฉัตรลงมาถึงฐานคอระฆังดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้นก็ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก หลั่งไหลไปสักการะบูชา ณ สันติเจดีย์บนยอดเขาและ
ณ ปราสาทชั่วคราวที่ตั้งอยู่เชิงเขาเช่นเดียวกันด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คณะกรรมการ
จึงได้สร้างปราสาทขึ้นใหม่ให้เป็นการถาวร โดยใช้วัสดุเสาเหล็กมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ การก่อสร้างได้เริ่ม
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ
, 2522 และแล้วเสร็จในวันที่ 19 ตุลาคม ปีเดียวกันสิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งหมด ประมาณ 166,000 บาท ศาสนิกชนทั้งหลายซึ่งไปสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ อาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาได้ช่วยกันบริจาคเงินจำนวนนี้ โดยมี พระสงบ จิตธรรรม เป็นผู้อุปถัมภ์และคุณสวัสดี ศรีรัตโนภาส ได้ให้ความร่วมมือในการก่อสร้าง ทั้งได้ติดบ้ายชื่อ "ปราสาทพระธาตุสันติเจดีย์" ไว้ที่หน้าบันของปราสาทด้วย

 หบผาสวรรค15

ระฆังสันติภาพ 

เมื่อศาสนิกชนทั้งหลายขึ้นไปสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์แล้วต่อจากนั้นก็ได้ไป
ตีระฆังที่หอระฆังสันติเจดีย์ที่ตั้งยู่ด้านหลัง เป็นเครื่องหมายแห่งความปลื้มปีติยินดีที่ได้บำเพ็ญกุศลดังกล่าวด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 ปรากฏ ว่าเสียงของระฆังไม่กังวานเหมือนเดิม คณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์และ
ศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ร่วมกันทำการหล่อระฆังขึ้น ณ บริเวณหน้าศาลาชินนะปูโตอนุสรณ์
อาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา เมื่อวันวิสาขบูชาวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยว่าจ้าง
ช่างปฏิมากรรมซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ทำการหล่อ สิ้นเงินไปจำนวน 65,000 บาท และคณะกรรมการสำนักปู่สวรรค์ได้นำระฆังนี้ขึ้นไปติดตั้งบนหอระฆังสันติเจดีย์แทนใบเดิม โดย
ฯพณฯ ทูตสันติภาพ อาจารย์สุชาติ โกศลกิติวงศ์ นายกสมาคมศาสนาสัมพันธ์เป็นผู้เริ่มตีระฆังเมื่อวัน
อาสาฬหบูชา วันที่
9 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และขนานนามระฆังนี้ว่า "ระฆังสันติภาพ" เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการดำเนินงานของสมาคมศาสนาสัมพันธ์ ที่จะจัดให้มีการประชุมสันติภาพอันถาวรในโลกมนุษย์ในบี
พ.ศ. 2525 ที่ตัวระฆังปรกฎภาพเครื่องหมายของ " ทูตสันติภาพ
และข้อความว่า
 

ระฆังสันติภาพ พิธีหล่อ ณ อาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาวันวิสาขบูชา วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เวลา 11.00 น.

หบผาสวรรค13 

รังสีพระบรมสารีริกธาตุ 

ในช่วงระยะเวลาที่มีการสร้างปราสาทถาวรดังกล่าวข้างต้น ปรากฎว่าได้มีเหตุการณ์อันเป็นที่อัศจรรย์แก่สานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์ และศาสนิกชนทั่วไปทำนองเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 กล่าวคือ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 คุณพิศิษฐ์ วุฒิชาติ กรรมการประสานงานสมาคมศาสนาสัมพันธ์
จังหวัดชลบุรีและคณะ ได้เดินทางไปร่วมปฏิบัติบูชาและอธิษฐานบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ สันติเจดีย์เวลาค่ำประมาณ 18.00 น.คุณพิศิษฐ์ ได้ถ่ายภาพสันติเจดีย์ทางด้านหลังไว้ ต่อมาได้นำฟิลม์ไปล้างและอัดภาพ
ปรากฏว่านอกจากภาพองค์สันติเจดีย์แล้ว ยังมีภาพลาง ๆ สีเหลืองทางด้านหน้า และภาพรูปวงกลมรีสีขาว
10 วงทางด้านขวาขององค์สันติเจดีย์อีกด้วย จึงได้อัดภาพดังกล่าวแจกเพื่อนกรรมการไว้เป็นที่ระลึกต่อมา
วันที่ 15 ธันวาคม พศ. 2522 พล.ต.ต. พิบูลย์ ภาษวัธน์ (ประธานกรรมการจัดงานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519) และคณะได้ไปเห็นภาพนี้ที่ร้านคุณยงยุทธ สืบไทยพาณิช ตลาดอำเภอ
ศรีราชา จึงได้ติดต่อขอฟิลม์และภาพดังกล่าวจากคุณพิศิษฐ์ วุฒิชาติ เพื่อหาความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ต่อไป
ซึ่งก็ได้รับทราบจากท่านบรมครูเมื่อวันที่ 20 เดือนเดียวกันนั้น ว่าภาพลาง ๆ สีเหลืองและภาพวงกลม
สีขาวนั้น เป็นรังสีของพระบรมสารีริกธาตุที่เปล่งออกมาจากสันติเจดีย์ ให้ศาสนิกชนผู้มีความเคารพสักการะบูชาได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ปรากฏการณ์ที่นำความศิริมคลมาสู่สานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์ซึ่งพำนักอยู่ในอาณาจักรหุบผาสรรค์เมืองศาสนา รวมทั้งศาสนิกชนอื่นซึ่งเข้าไปพำนักในวันพฤหัสบดีนั้นด้วย

 

Contribute!
Books!
Shop!