สมเด็จโต-กรรมกับการดุลกรรม
- Details
- Category: โอวาทสมเด็จโต_cat
- Published on Wednesday, 10 April 2024 14:28
- Written by Super User
- Hits: 232
กฎแห่งกรรม
กรรมกับการดุลกรรม
(วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖)
สมเด็จ : ใครมีอะไรไหม
คุณอารีย์ สุวรรณพันธ์ : ขอกราบนมัสการ กราบเรียนถามหลวงพ่อค่ะ เกี่ยวกับกรรมที่ทำไว้ในอดีตน่ะค่ะ ตอนนี้ได้รับทุกข์ทรมานมาก อยากทราบว่าจะมีวิธีล้างกรรมที่ทำไว้ได้อย่างไรคะ
สมเด็จ : เจริญพร คือในปัญหาเรื่องกรรม แล้วจะล้างให้กรรมนั้นหมดจากสังสารวัฏนั้น เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในวันนี้ก็เป็นวันพระปลายเดือน อย่างบางคนที่เคยไปสำนักต่าง ๆ เกี่ยวกับพวกเทพที่ลงมาทำงาน ส่วนมากเขาจะหยุดวันพระ แต่ว่าสำนักปู่สวรรค์ไม่มีวันหยุด เพราะอะไรเล่า
สำนักปู่สวรรค์ เขาเรียกว่าเป็นปู่ครู คือบรมครูบนสวรรค์มาทำงาน ซึ่งก่อนที่จะมาที่นี่ ก็ได้ไปรับการคารวะจากเทวดาทั้งหลายที่มาทำงานในโลกมนุษย์ แล้วก็ได้แสดงธรรมในที่ประชุม ที่ศาลาฟังธรรมที่สวรรค์ชั้นดุสิตในเรื่อง "กรรม" เหมือนกัน ก็เลยตกลงมาต่อในโลกมนุษย์ แสดงว่าสมเด็จโตหากินสองรายการ
ทีนี้ ในเรื่องกรรมนี้ ท่านต้องเข้าใจว่า เราเป็นชาวพุทธหรือไม่ เมื่อเราเป็นชาวพุทธแล้ว หลักแห่งศาสนาพุทธนั้น สอนให้เชื่ออยู่ในภาวะแห่งความเที่ยงของกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าท่านไม่เชื่อเรื่องวิญญาณ ก็ขอให้ท่านใช้สมองแห่งความเป็นธรรม แห่งการเป็นคนกลาง ไห้มีคำว่า "ยุติธรรม" พิจารณาว่า ท่านมาสังเกตการณ์ในสำนักปู่สวรรค์ท่านจะเห็นว่าตั้งแต่บ่ายโมง ร่างนี้ยังไม่ได้กินอาหาร
บ่ายโมงเชิญหลวงปู่มาทำงาน เกือบสามชั่วโมง เสร็จแล้วลุกขึ้นให้พระพรหมชินนะไปไล่พวกปีศาจ อสุรกาย หรือพวกไสยคุณ เป็นชั่วโมง ๆ แล้วกลับขึ้นมา ถึงก็กลายเป็นอาตมาขึ้นเทคน์เรียกว่า ติดต่อกันโดยไม่ได้พัก ไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้ดื่มน้ำ ถ้าไม่ใช่เป็นสิ่งลี้ลับแล้ว มนุษย์ธรรมดาท่านลองแสดงให้อาตมาดูบ้างซิว่า เป็นเวลาห้าหกชั่วโมงนี้ทำได้ไหมในโลกมนุษย์
แล้วก็มาเจอปัญหาธรรม ป้อนคำถามเข้ามาโดยไม่ได้ซักซ้อม หรือเตรียมตัวกันมาก่อน แล้วจะแก้อย่างไร ฉะนั้นก็ขอให้ท่านพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
การดุลกรรม
ในหลักพุทธศาสนาของเรา สอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรม แล้วภาวะแห่งคำว่า "ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว" นี่เป็นกฎแห่ง "ปัจจัดตัง"ฉะนั้น กรรมในอดีตที่ผ่านมา หรือกรรมชั่วนั้น เราจะลบล้าง ไม่มีทางลบล้าง
ทีนี้ เมื่อไม่มีทางลบล้างแล้ว เราจะทำอย่างไร ให้กรรมนั้นเสวยสู่เราน้อยเล่า เราก็ต้องประกอบกรรมดีขึ้นมา ยกตัวอย่าง สมมติเราติดหนี้นาย ก อยู่ ๒๐ บาท เราก็สร้างลูกหนี้ ขึ้นมาใหม่คือ นาย ข ให้นาย ข ติดหนี้เรา ๒๐ บาท ฉะนั้นเมื่อนาย ก มาทวงเรา เราก็ให้ไปเอากับนาย ข เราก็หลุดออกมา เขาเรียกว่าตัวเราก็หลุดจากกรรมอันนั้น เราก็พ้นตัว นี่คือภาวะการดุลกรรม
ฉะนั้น เรื่องกรรมนี้ ท่านต้องไปเสวยในปรภพ แล้วท่านก็อย่าไปยึดตามอาจารย์ที่สอนท่าน ดูเหมือนว่าเราจะเป็นนักเรียนวิปัสสนา อภิธรรมกับเขาด้วยมิใช่หรือ
คุณอารีย์ : ใช่ค่ะ
สมเด็จ : แล้วอาจารย์ที่สอน เดี๋ยวนี้ไปมีเมียกี่คนแล้วล่ะ ฉะนั้นเราต้องพิจารณา เราอย่าหลงตามอารมณ์คน ทำไมเขาจึงไม่ชอบสำนักปู่สวรรค์ เพราะสำนักปู่สวรรค์ สมเด็จโตมาทำงาน คือสมเด็จองค์นี้ แต่ไหนแต่ไรมา เขาเรียกว่าเป็นสมเด็จที่ไม่สุภาพ ไม่เหมือนกับสมเด็จทั้งหลาย คือพูดอะไรก็ตามเรื่องตามราว คือไม่รู้จักประจบสอพลอ แล้วอาจารย์ที่สอนน่ะสอนให้เราหลงใช้ไหมล่ะ ว่าเรานั้นสำเร็จฌาน ๑๖ แล้ว
คุณอารีย์ : ใช่ค่ะ
สมเด็จ : อือม์ สำเร็จแล้วอาจารย์สูบบุหรี่วันละกี่ซอง ฉะนั้น เราต้องพิจารณาถึงอาจารย์ที่สอนด้วย ต้องเข้าใจว่า การเป็นพระนั้นไม่ใช่อยู่ที่ผ้าเหลือง พระอยู่ที่คุณธรรม พุทธะอยู่ที่ใจ ต้องคนถึงธรรมอันแท้จริงจึงเรียกว่าพระ และจะต้องหลุดแห่งการติดของสังคม
ฉะนั้น อาจารย์สอนวิปัสสนา บอก เอ็งนั่ง เอา ได้ฌาน ๑๖ แล้ว สำเร็จแล้ว ไอ้นี่หลงไปใหญ่ ว่ากูสำเร็จได้ฌานแล้ว คุยจนฟุ้ง เรียกว่าทุกวันนี้ แต่ละวัดมันมีแต่เรื่องฟุ้ง ฉะนั้น เราควรหันกลับมากันจิตในจิต คันจิตในจิตนี้เราจะทำอย่างไรเล่า
ก็คือให้ท่องคติประจำไจที่อาตมาจะให้ก็คือ อดีตที่ผ่านมานั้น อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือการ ต่อสู้ อนาคตคือความหวัง เรามีความหวังแต่อย่าหลง เมื่อหลงก็นำความหายนะมาสู่เรา
อดีตคือความฝันนั้น เราก็ต้องพยายามละทิ้งอารมณ์แห่งความผิดในกรรมชั่ว ในอดีตที่เราพัวพันมา ให้สลัดมันออกไปว่า สิ่งนั้นเป็นอุปาทานที่เราเกิดขึ้นมา และเรามีกรรมที่จะต้องมาทำ มาพัวพันในเรื่องอะไรต่าง ๆ ซึ่งอาตมาก็ไม่อยากพูด เพราะพูดไปเดี๋ยวกลายเป็นประจานไป
ก็คือว่าให้ทิ้งมันเสีย แล้วมาตั้งต้นอารมณ์ปัจจุบัน ว่าบัดนี้ข้าจะตั้งต้นเป็นคนดีอยู่ในศีลในสัตย์ จะไม่กระทำให้หนุ่มทั้งหลายมาคิดรักข้า ข้าจะไม่เข้าใกล้กับหนุ่มทั้งหลาย ให้เกิดความพัวพันในการฆ่ากันขึ้นและบัดนี้ ข้าสำนึกในกรรมนั้นแล้ว ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงอโหสิกรรมให้ข้าเสีย ข้าจะตั้งตันชีวิตใหม่ด้วยการภาวนาอยู่ในศีล และหมั่นสำรวมจิต คือรวมอารมณ์ให้เป็นสมาธิเสีย อย่าไปเป็นวิปัสสนึก คือพยายามรวมให้จิตแข็งแกร่ง ด้วยการใช้พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพสังฆานุภาพ ให้ละทิ้งอารมณ์ภายในที่เราต้องการละ
ทีนี้ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เราก็พยายามทิ้งอุปาทานอันเดิม มาสู่ปัจจุบันปัจจุบันคือการต่อสู้ ต่อสู้ให้ชนะอารมณ์เดิม แล้วปรับอารมณ์ใหม่ให้ชนะทั้งภายในและกายนอก ให้อยู่ในสัมมาทิฐิ แห่งอารมณ์แห่งความรู้ของสมถกรรมฐานให้ถึงองค์ฌาน ภาวะแห่งการถึงองค์ฌานนี้แหล่ จะทำให้กระแสจิตเราเข้มแข็ง
เมื่อจิตเราเข้มแข็ง เขาเรียกว่ารู้แห่งฌาน ก็ย่อมที่จะรู้บางสิ่งบางอย่างที่จะช่วยแก้ไขกรรม นี่คือเรื่องของการดุลกรรม เข้าสู่จุดล่ะ
ฉะนั้น ถ้าชีวิตเรายังไม่สามารถพุ่งออกจากสังสารวัฏ เราก็ไม่มีทางที่จะหมดกรรม ยังจะต้องอยู่ในวัฏฏะ แห่งการเวียนว่ายตายเกิดของการเป็นสัตว์โลกทีนี้ ในภาวะนี้ ถ้าเราหมั่นสำรวจตัว และหมั่นสำรวจจิตแล้วไซร้ เราจะต้องรีบสร้างทานบารมี ด้วยการทำบุญทำทาน ตักบาตรพระ ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อให้บารมีอันนี้มาเสริม ช่วยในเรื่องที่จะเกิดกรรม ที่เรียกว่าสัตวโลกต้องมาตายเพราะความพัวพันกับเรา และอีกอย่างหนึ่งก็จะช่วยให้เรา เมื่อสิ้นชีวิตดับจากโลกมนุษย์แล้ว ไปสู่ปรภพจะได้เสวยกรรมดี
......................................................
จากหนังสือ โต พรหมรังษี ชุดการจำแนกบุญบาป