E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

สมเด็จโต-พระพรหมทำไมมีหลายหน้า

o-wat-tho

พระพรหมทำไมมีหลายหน้า

เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓

สานุศิษย์ : กระผมขอกราบเรียนถามหลวงพ่อสมเด็จว่า พระพรหมนี่มีกี่หน้ากี่กรกันแน่ครับ เห็นที่สร้างไว้ต่างคนต่างทำ ไม่ทราบว่าของใครถูก

สมเด็จ : คือว่าในเรื่องของพระพรหมนี่ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้นนั้น เขามีพรหมต่างๆ หลายแบบ พรหมสี่หน้านั้นมีอยู่หลายองค์ ทั้งหมดเขาเรียกว่า ที่เป็นผู้นำพรหมโลกมีอยู่ ๔ องค์ ทีนี้ พรหมสี่หน้านั้นมีอยู่ ๖ องค์ พรหมสองหน้านั้นมีอยู่ ๑๕ องค์ พรหมหน้าเดียวนั้นมีอยู่มาก

ทีนี้ทำไมพรหมเหล่านี้จึงมีสี่หน้า สามหน้า สองหน้า แปดกร หกกร สี่กร สองกร อันนี้เป็นการเรียกว่า พรหมเล่านี้เป็นพรหมที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และเขามีอำนาจแห่งฌานญาณสูงมาก สามารถที่จะแบ่งรัศมีในกายนี้ เพราะเมื่อมีหน้าที่ในการรับผิดชอบงานมาก การที่จะดูแลสอดส่องทั่วไป ก็บอกว่าหน้าเดียว ตาคู่เดียวนี่ มันมองไม่ไหว ก็เลยเนรมิต ตาคู่หนึ่ง มาช่วย อีกหน้าตาคู่หนึ่งก็ยังช่วยไม่ไหว ก็เนรมิตขึ้นมาอีกหน้าหนึ่ง อันนี้อยู่ในภาวะของกายทิพย์

ทีนี้ ส่วนมากที่เขาทำถึงแปดกร สิบกร ยี่สิบกรนั่นมนุษย์ยุคต่อมาต่อเติมกันให้มันมาก ตามความจริงแล้วสี่หน้าก็สี่กรเท่านั้นเอง เพราะว่าในสภาวการณ์แห่งการเนรมิตนี้เป็นการอยู่ในโลกกายทิพย์ การที่มีหลายๆ หน้า ที่จะมีการรังควานในการนั่งสมาธิของพรหมก็มี อันนี้มีอยู่ที่อำนาจทิพย์ด้วยและสามารถกลับสู่หน้าเดียวก็ได้แล้วแต่ปรารถนา

อันนี้อาจจะถามว่า เหตุไฉนพระพรหมชินนะจึงไม่ต้องมีหลายหน้า เพราะว่า พระพรหมชินนะนั้นมีรังสีแห่งวรกาย ของแก้ว ๗ ชั้นคลุมอยู่ จึงไม่ต้องใช้หน้ามาก เพียงแต่รัศมีแผ่ไป พรหมเขาก็รู้ พวกมารหรือพวกอะไรเขาก็รู้ นี่พรหมองค์นี้มา ก็คือสัญลักษณ์ท้าวมหาพรหมชินนะมา จึงไม่ได้เนรมิตในร่างกายให้ผิดแปลกกว่าเขา

สานุศิษย์ : ตามหลักเกณฑ์แล้วหน้าที่จะต้องสองกร ที่นี้บางคนเอาหน้าหนึ่งสี่กร

สมเด็จ : อันนี้ก็เพราะมาต่อเติมกันต่อมา นักปั้นต่อมา ก็จากจินตนาการให้มันว่า ต้องเพิ่มกรเพิ่มอะไร อันนี้เขาเรียกว่า ถ้าท่านติดในเรื่องสมมติแล้วไซร้ ท่านย่อมไม่สามารถที่จะหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะฉะนั้น องค์สมณโคดมเมื่อประกาศศาสนาอยู่ จึงว่า แม้แต่ตถาคตท่านก็อย่าติด ถ้าท่านติดตถาคต ท่านก็ไม่รู้จักการเป็นพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร เพราะนี่คือสัจธรรมอันแท้จริง

ก่อนที่องค์สมณโคดมจะปรินิพพานสามเดือน ก็ได้พยายามเตือนพระอานนท์ว่า

“อานนท์เอ๋ย เจ้าทราบแล้วมิใช่หรือ การอาราธนาของมารร้าย ในการสิ้นอายุขัยของสังขารของตถาคตนี้ อานนท์เอ๋ย จนบัดนี้ เวลาล่วงเลยมาแล้วใกล้สามเดือน ตถาคตจะถึงจุดแห่งความปรินิพพาน ทิ้งสังขาร อานนท์เจ้าทำไมหนอจึงติดตถาคตอยู่แจเล่า อานนท์เอ๋ย เจ้าจะรู้หรือว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร เมื่อเจ้าไม่ละทิ้งการติดตถาคต”

เพราฉะนั้นนี่เป็นพุทธพจน์ในการยืนยันว่า องค์สมณโคดมไม่ได้ส่งเสริม ในการประกาศศาสนาให้ติดรูป เมื่อไม่ส่งเสริมในการประกาศศาสนาให้ติดรูป จึงอยู่ยืนยงคงมาถึงปัจจุบันนี้ แห่งการที่เรียกว่าศาสนาพุทธคงทนต่อการพิสูจน์ ในการเพื่อที่จะค้นหาเหตุผลไปสู่หลักแห่งปัจจัตตัง ในภาวะคู่กับวัตถุ

สานุศิษย์ : เมื่อไม่ให้ยึดในตัวตนแล้ว ทำไมบอกว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนนั้นเป็นที่พึ่งแห่งตน

สมเด็จ : การที่ให้ในกฎ อัตตาหิ อัตโนนาโถ นี้แหละ เป็นการที่ไม่ให้ยึดตน ทำไมอาตมาจึงอรรถาธิบายเช่นนี้ เพราะว่า ถ้าท่านไม่พึ่งตัวท่านเองแล้ว ใครเขาจะช่วยท่านได้เล่า

ถ้าในการบันดาลของเทพเจ้าแล้ว ท่านไม่ทำ เทพเจ้าก็ช่วยท่านไม่ได้ อย่างเช่นง่ายๆ ทำไมจึงให้ว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ เวลาท้องเอ็งหิวข้าวนี่ ถ้าเอ็งไม่กินแล้ว ใครที่ไหนเอาให้กินได้ ถ้าตัวไม่ช่วยตัวเอง เพราะฉะนั้นพุทธพจน์ข้อนี้เป็นปัจจัตตัง ในการว่าตัวท่านต้องช่วยตัวท่านก่อน แล้วพระเจ้าจึงช่วยท่านได้ ตัวท่านไม่ปฏิบัติสมาธิแล้ว จะไปถึงสมาธิแห่งฌานญาณได้อย่างไร ตัวท่านไม่ทำในกรรมฐาน ในการวิปัสสนาแล้วนั่งคุยแต่พระนิพพาน เมื่อไหร่มึงจะถึงพระนิพพาน เวลานี้คุยกันแยะแต่ไม่มีใครทำ ศาสนามันจึงฟุ้งจนไม่รู้อะไรเป็นอะไร เรียนกันใหญ่เปรียญเก้าก็เยอะแยะ

เพราฉะนั้น การศึกษาในความเป็นจริงของศาสนาพุทธก็คือศึกษาให้หยุด ไม่ใช่ศึกษาให้ฟุ้ง เรียนในการทำเป็นพื้นฐาน ให้ปฏิบัติจิตของตนให้สิ้นอาสวกิเลส เมื่อจิตนิ่งเป็นเอกะประภัสสรยิ้มผ่องใสแล้ว เมื่อนั้นท่านจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นสัจจะ อะไรเป็นธรรมะ อะไรเป็นอธรรม และจะรู้การเป็นอยู่ของเทพ พรหม ทุกวันนี้ ไม่มีใครทำ มีแต่พูด พูดแล้วก็ไม่รู้จะเอายังไง กลับดีกว่า เพราะคุยไปก็เท่านั้นเอง

Contribute!
Books!
Shop!